ค้นหา

EP.9 พยานหลักฐานทางคดีแพ่ง และคดีอาญา

#Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

ข้อสรุปของความหมาย พยานหลักฐาน หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีคุณสมบัติ สามารถที่จะบ่งหรือส่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงหรือความไม่เป็นจริงในปัญหาที่มีข้อพิพาท กันทางคดีได้ โดยแบ่งพยานหลักฐานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เป็นวิธีการแบ่งประเภท พยานหลักฐานที่ใช้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา คือ

1. พยานบุคคล คือ บุคคลที่มาเบิกความต่อศาลในข้อเท็จจริงที่ตนเองได้พบเห็นมา โดยตรงหรือรู้มาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประจักษ์พยาน หมายถึง พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ ด้วยตนเอง เช่น นายเอ เห็นนายบีฆ่านายซีตาย ดังนั้นนายเอ ถือเป็นประจักษ์พยาน กับ พยานบอกเล่า หมายถึง พยานที่รับฟังข้อเท็จจริงจากบุคคลอื่นแล้วมาเบิกความในศาล เช่น นายเอก ได้รับฟังจากนายโทว่านายตรีฆ่านายดํา ดังนั้น นายเอกจึงถือเป็นพยานบอกเล่าเป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีพยานแวดล้อมกรณี เป็นพยานที่ไม่ได้แสดงถึงข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ โดยตรง แต่อาจทําให้ศาลอนุมานได้ว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความประสงค์จะพิสูจน์มีอยู่จริงหรือไม่มี เช่น คําเบิกความของพยานว่าเห็นจําเลยถือมีดเปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากในบ้าน เช่น เห็น จําเลยขับรถเข้าในซอยบ้านผู้ตายอย่างมีพิรุธ หรือรอยเบรกรถบนถนนเป็นทางยาวแสดงให้ เห็นได้ว่าจําเลยอาจขับรถมาด้วยความเร็วเพราะใช้ระยะเวลาในการเบรกยาว

2. พยานเอกสาร คือ สิ่งซึ่งมีการบันทึกตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายไว้ สิ่งนั้นจะ เป็นอะไรก็ได้ จะบันทึกด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้ สิ่งที่พยานเอกสารพิสูจน์ คือ ข้อความที่เอกสาร แสดงออก ไม่ใช่ตัววัตถุเอกสาร พยานเอกสารนั้นเป็นพยานสําคัญในคดีแพ่ง พยานเอกสารนั้น หากแยกประเภทของเอกสารก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น เอกสารธรรมดา เอกสารสิทธิ เอกสารราชการ และเอกสารมหาชน เมื่อเอกสารมีหลายประเภทการนําสืบพยานเอกสารก็ ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามประเภทของเอกสารนั้น ๆ พยานเอกสารสําคัญมากในการนํามา สืบในคดีแพ่ง เพราะในคดีแพ่งมักทําสัญญากันไว้เป็นหลักฐานในการก่อนิติสัมพันธ์กัน ดังนั้น เมื่อเกิดข้อพิพาทกันตามสัญญา ก็จะต้องเอาสัญญามาเป็นหลักฐานในคดี เช่น สัญญากู้เงิน , สัญญาค้ำประกัน , บันทึกข้อตกลง , สัญญาซื้อขาย เป็นต้น

3. พยานวัตถุ คือ วัตถุหรือสิ่งอื่นใดที่อาจจะพิสูจน์ความจริงต่อศาลได้โดยการตรวจดู มิใช่โดยการอ่านหรือพิจารณาข้อความที่บันทึกไว้ เช่น มีด ปืน ยาเสพติดของกลาง บาดแผล ของผู้เสียหาย ศพของผู้เสียชีวิต พยานวัตถุอาจเป็นพยานที่เป็นสังหาริมทรัพย์หรือเป็น อสังหาริมทรัพย์ วิธีการนําสืบ คือ ถ้าคู่ความในคดีประสงค์จะนําสืบพยานวัตถุจะต้องนํา วัตถุพยานนั้นมาสืบที่ศาลเว้นแตม่ีเหตุจําเป็นหรือเหตุผลอันสมควรอื่นทําให้การนําวัตถุพยาน มาสืบที่ศาลไม่สามารถทําได้ หรือไม่สมควรที่จะกระทํา คู่ความอาจขอให้ศาลไปเผชิญสืบนอก ศาลได้

4. พยานผู้เชี่ยวชาญ คือ บุคคลที่ไม่ได้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนั้น แต่เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการวิชาชีพ หรือกิจการด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทํา หรือกฎหมายต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่ง ความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีฐานมาจากความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้นั้น สามารถ นํามาใช้ประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงที่พิพาทกันในคดีได้ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน วิศวกร เป็นต้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะถูกนําเข้ามาในคดี 2 ทางคือ ศาลมีคําสั่งแต่งต้ัง ผู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ หรือ คู่ความนําพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสืบนั้น

จุดสําคัญของพยานผู้เชี่ยวชาญ คือเป็นเพียงพยานผู้ให้ความเห็นต่อศาลตามที่มี บทบัญญัติของกฎหมายอนุญาตไว้ โดยเป็นความเห็นตามหลักวิชาการและเป็นการให้ ความเห็นเพื่อช่วยศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีแทนศาล ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจะรับฟังได้เพียงใด ย่อมขึ้นกับความสมเหตุผลของความเห็น นั้นด้วย (ฎ. 916/2546)

หลายท่านอาจจะได้ยินคําว่า พยานชั้นหนึ่งและพยานชั้นสอง พยานชั้น 1 พยานชั้น 2 ไม่มีในกฎหมายไทย แต่นํามาจากหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตามหลักที่ว่า ต้องนํา พยานหลักฐานที่ดีที่สุดมาสืบในศาล แบ่งเป็น พยานชั้นหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานชิ้นที่ดี ที่สุดในบรรดาพยานหลักฐานทั้งหลายที่มุ่งพิสูจน์ข้อเท็จจริงข้อหนึ่ง และพยานชั้นสอง หมายถึง พยานหลักฐานในลําดับรองลงมา

กรณีคำถามที่ว่าพยานหลักฐานใดที่น่าเชื่อถือที่สุดการพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญา นั้น ใช้หลักที่ตรงกันคือ ให้ศาลมีอํานาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความ นํามาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษา คดีไปตามนั้น ดังนั้นคําตอบคือ การชั่งน้ําหนักหรือการประเมินความน่าเชื่อถือของ พยานหลักฐานเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะแทบจะหาหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัวใน บทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ได้เลย

ทุกประเทศมีข้อยุติตรงกันว่า ไม่ควรวางหลักกฎหมายตายตัวไปทางใดทางหนึ่ง แต่ ควรจะให้เป็นดุลพินิจแก่ศาลหรือผู้ที่จะต้องชี้ขาดปัญหาข้อเท็จจริงในคดี ได้ใช้ดุลพินิจให้ เหมาะสมและละเอียดรอบคอบที่สุดเป็นรายกรณีไป “การใช้ดุลพินิจชั่งน้ําหนักฟัง พยานหลักฐานของโจทก์และจําเลย เป็นการใช้ดุลพินิจในการค้นหาเหตุผลจากพยานหลักฐาน เหล่านั้นว่าควรจะรับฟังได้เพียงใดหรือไม่ ฝ่ายใดมีน้ําหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน ศาลมีอํานาจหยิบ ยกข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ได้ความจากการนําสืบของทั้งสองฝ่ายมาใช้ดุลพินิจรับฟังได้ตามสมควร ตามพฤติการณ์แห่งคดี อันเป็นอํานาจโดยอิสระของศาลชั้นต้นในการค้นหาเหตุผลเพื่อหา ข้อเท็จจริงแห่งคดีให้ได้ข้อยุติ”
(ฎ. 12795/2558)

อ้างอิง: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 98, 128, 104 (1)