จับคนผิด Justice Game

ที่มาของเกม

“เกม” เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้ที่มีจุดเด่น คือ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริงและการสร้างความสนุกสนานรวมเข้ากับการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายต่างกับการเรียนรู้ปกติที่อาจจะสร้างความเครียดส่งผลต่อการปิดกั้นการเรียนรู้และการเรียนรู้ผ่านเกมสามารถสร้างการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เปิดโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้เข้ากับสภาพแวดล้อมจริงได้

จะเห็นว่าเกมเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการนำมาพัฒนาการเรียนรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) จึงเห็นความสำคัญและประโยชน์ของเกม อีกทั้ง ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดจัดทำ “เกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” โดยเฉพาะ สกธ. จึงได้ดำเนินการร่วมกับ Wizards of Learning ทีมผู้เชี่ยวชาญออกแบบเกม เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้สัมผัสประสบการณ์สมมุติและใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้เข้าถึงความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ครู อาจารย์ และโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เป็นต้น

สกธ. จึงจะได้ผลิตเกมในรูปแบบ “บอร์ดเกม” (Board game) ซึ่งเป็นเกมที่พัฒนามา จากเกมไพ่ที่มีลวดลายเฉพาะเป็นอุปกรณ์หลักในการเล่นที่สร้างความสนุกสนานรวม
เข้ากับการเรียนรู้ ง่ายต่อการพกพา และใช้ผู้เล่นเป็นกลุ่ม จึงสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นได้อย่างดี โดยในเกมมีเนื้อเรื่องประกอบด้วย การจำลองสถานการณ์สมมุติการดำเนินคดีและการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา. จำนวน 2 คดี ได้แก่ (1) คดีทำร้ายร่างกาย และ (2) คดีฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นการเรียนรู้กฎหมายและกระบวนการ
ยุติธรรมผ่านตัวละครต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีและกระบวนการยุติธรรมอาญา และการค้นหาพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลย
โดยจะมีคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการต่อสู้คดีระหว่างที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกดำเนินคดี ในแต่ละชั้นของกระบวนการยุติธรรม เช่น ชั้นตำรวจ อัยการ และศาล

เนื้อหาและความรู้ของเกม

ขั้นตอนการดำเนินคดี และกระบวน การยุติธรรมอาญา (ภาพรวม) ได้แก่ ชั้นตำรวจ อัยการ ศาล

บทบาทและหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องใน คดีอาญา เช่น ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย โจทก์ พยาน ทนายความ พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ

สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยเมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา หรือเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

การสืบสวน สอบสวน การสืบเสาะพยานหลักฐานในคดีอาญาที่จะใช้ในการพิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา หรือจำเลย

การสร้างเสริมทัศนคติที่ดีให้แก่ผู้เล่นเกมในการเลือกตัดสินใจช่วยคนบริสุทธิ์และสนับสนุนการค้นหาพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ได้ผู้กระทำความผิดมารับโทษตามกฎหมาย รวมถึงสังคมเกิดความรับรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริมการให้ความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ได้สัมผัสประสบการณ์สมมุติ ผ่านสื่อและนวัตกรรมให้ความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (เกม)
  • เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู อาจารย์ และโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

  • เด็กและเยาวชนให้ได้สัมผัสประสบการณ์สมมุติ เพื่อเข้าถึงความรู้
    กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
  • บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ครู อาจารย์ และโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์
  • ประชาชนที่มีความสนใจและที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการอื่น ๆ
    ที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานกิจการยุติธรรม

ขณะนี้เกิดคดีขึ้น 2 คดี ตำรวจเข้าจับกุมผู้ต้องหาในข้อหาทำร้ายร่างกาย ณ ตลาดแห่งหนึ่ง แล้วจึงนำตัวมายังสถานีตำรวจ ในขณะเดียวกันนั้น ตำรวจอีกกลุ่มก็รวบตัวผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงประชาชนมายังสถานีตำรวจ

คณะจัดทำร่วมผลิตและพัฒนา : สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
ผู้ออกแบบเกม : Wizards of Learning
ภาพประกอบ : ชานนท์ ธรเจริญศรี, กรรณิการ์ ราษฎร์เจริญ, ภัครดา ปัญญาฤดีพร
ผู้ออกแบบกราฟิกของเกม : Wizard of Learning
บรรณาธิการ : กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงานกิจการยุติธรรม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : สำนักงานกิจการยุติธรรม อาคารรัฐประศาสนภักดี
ชั้น 9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

คลิกลงทะเบียนรับเกม

ผู้ที่สนใจรับ “บอร์ดเกมจับคนผิด Justice Game” ไปใช้เป็นสื่อการเรียน/การสอน หรือเผยแพร่ให้ผู้อื่น
ได้รับความสนุกสนานควบคู่ “ความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม”

หมายเหตุ : ตัดรอบการจัดส่งบอร์ดเกมภายใน 15 วัน อดใจรอกันหน่อยนะครับ