ค้นหา

PODCAST พูด – คุยปัญหากฎหมายภาษาชาวบ้าน

รายการ “Law มาเคลียร์” อย่าลืม กดติดตาม กดไลก์เป็นกำลังใจ และกด Subscribe Youtube : Justice Channel กดกระดิ่งแจ้งเตือน จะได้ไม่พลาด Content ใหม่ๆ จากพวกเราด้วยนะครับ

Law มาเคลียร์ Ep1 : ชุลมุนวุ่นรับ “มรดก”

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติของโลกใบนี้…แต่ถ้าคนที่เสียชีวิตไปแล้ว มีทรัพย์สิน แก้ว แหวน เงิน ทอง รวมถึงหนี้สิน ทั้งหมดนี้เรียกสั้นๆ ว่า #มรดก และเรื่องราวความชุลมุนวุ่นวายเกี่ยวกับมรดกจะเกิดขึ้นทันที ซึ่งก่อนที่จะไปชุลมุนอลหม่าน เรื่องรับ”มรดก”นั้น เรามาทำความเข้าใจเรื่อง “มรดก” คืออะไร

Law มาเคลียร์  Ep2 : เขาจากไป…ใครรับ “มรดก”

เรื่องราวของ “ทายาท” ต้องฟังไว้ เราเป็นทายาทลำดับไหน และมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่ อย่ารอช้าไปติดตามกันเลยกับ Ep.2 ของ รายการ “Lawมาเคลียร์” เรื่องราวความวุ่นวายของลำดับทายาท จะเป็นอย่างไรนั้น…รับฟังกันได้เลยครับ

Law มาเคลียร์  Ep3 : มรดกวุ่นวาย เลยต้องมี “ผู้จัดการมรดก”

เรื่องของผู้จัดการมรดก เพราะความวุ่นวายจึงต้องมีคนมาช่วยจัดการให้ แต่เราจะไปหาผู้จัดการยังไง ต้องใช้วิธีไหนแบบนั้น แล้วผู้จัดการมรดกจะไว้ใจได้หรือไม่…เราต้องไปหาคำตอบกัน….

Law มาเคลียร์  Ep4 : ก่อนแต่งเป็น “ของฉัน” (สินส่วนตัว)

เรื่องราวของทรัพย์สินก่อนแต่งงานจดทะเบียนสมรส ที่เรียกว่าสินส่วนตัว มีอะไรบ้าง ?

Law มาเคลียร์  Ep5 : หลังแต่งเป็น “ของเรา” (สินสมรส)

เรื่องราวของทรัพย์สินหลังแต่งงานจดทะเบียนสมรส ที่เรียกว่าสินสมรส มีเรื่องราวน่ารู้อะไรบ้าง ?

Law มาเคลียร์  Ep6 : ทรัพย์สิน “ของเรา” ต้องดูแลยังไง ?

เรื่องราวหลังแต่งงานจดทะเบียนสมรสแล้ว…เราจะต้องดูแลทรัพย์สินของเราอย่างไร ไปหาคำตอบในรายการ Law มาเคลียร์  Ep6 : ทรัพย์สิน “ของเรา” ต้องดูแลยังไง ?

Lawมาเคลียร์ Ep.7 ประเภทที่ดิน…แยกอย่างไร?

ความรู้เกี่ยวกับที่ดินแบบเน้นๆ ความยาว 16 นาที กับ Podcast รายการ #Lawมาเคลียร์ Ep.7 ประเภทที่ดิน…แยกอย่างไร ?
สิทธิในที่ดิน ตามความหมายของประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 1) #กรรมสิทธิ์ หมายถึง ความเป็นเจ้าของ ซึ่งบุคคลอาจเป็นเจ้าของที่ดินได้ด้วยการมีกรรมสิทธิ์ โดยรัฐออก #หนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ให้ 2) #สิทธิครอบครอง หมายถึง สิทธิครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ โดยการทําประโยชน์ หรือการถือครอง แต่ไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โดยรัฐจะออก #หนังสือรับรองการทําประโยชน์ หรือหลักฐานที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้

ประเภทเอกสารสิทธิตามกฎหมายที่ดิน มีอยู่หลายแบบแต่ที่ใช้อยู่และพบในปัจจุบันมีดังนี้ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ เอกสารที่ทางราชการออกให้แก่ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อรับรองความเป็นเจ้าของในที่ดินแปลงนั้น แบ่งออก ดังนี้ โดยหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น คือ รวมไปถึง โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง, ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว
1. โฉนดแผนที่ ออกตามประกาศออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ฉบับแรกออกที่อำเภอบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคือ อำเภอบางปะอิน เหตุที่เรียกโฉนดแผนที่เพราะโฉนดที่ออกมีแผนที่ด้วย
2. โฉนดตราจอง ออกในปี ร.ศ. 121 รูปแผนที่เป็นรูปลอย ไม่มีระวางโยงยึด ส่วนใหญ่จะพบในจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ปัจจุบันไม่มีการออกแล้ว
3. ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว ออกตามกฎหมายที่ดินเดิม ออกให้กรณีที่ดินได้ทำประโยชน์แล้ว แต่ยังไม่สามารถออกโฉนดแผนที่ให้ได้ เป็นรูปลอย ไม่มีระวางโยงยึด ปัจจุบันไม่มีการออกแล้ว
4. ตราจอง ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 ตราจองนี้เป็นใบอนุญาติออกให้แก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ผู้รับอนุญาตต้องทำประโยชน์แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับตราจอง มิฉะนั้นสิ้นสิทธิเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ และจะโอนไม่ได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดก
5. โฉนดที่ดิน ออกหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อ 1 ธันวาคม 2497 มี 6 แบบ โฉนดที่ดินซึ่งมีอยู่ 6 แบบ คือ น.ส.4 ก., น.ส.4 ข., น.ส.4 ค., น.ส.4, น.ส.4 ง., น.ส.4 จ. ปัจจุบันที่ใช้อยู่ คือ แบบ น.ส. 4 จ (หรือโฉนดครุฑแดง) ออกครั้งแรกโดยกฎกระทรวงเมื่อปี 2529

Lawมาเคลียร์ Ep.8 ธรณี “ที่ดิน” นี้…ใครครอบครอง!?

การแย่งสิทธิครอบครอง กับการครอบครองปรปักษ์ต่างกันอย่างไร ? กับ Podcast รายการ #Lawมาเคลียร์ Ep.8 ธรณี “ที่ดิน” นี้…ใครครอบครอง!? อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์เป็นกำลังใจ และกด Subscribe Youtube : Justice Channel อย่าลืมกดกระดิ่งแจ้งเตือน ให้พวกเราด้วยนะครับ

การแย่งการครอบครองที่ดิน : ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง

การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน : บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

องค์ประกอบการของการได้สิทธิการครอบครองปรปักษ์
1. ครอบครอง จะครอบครองด้วยตนเองหรือผู้อื่นครอบครองแทนก็ได้ การครอบครอง คือการเข้ายึดถือทรัพย์สินในลักษณะสิทธิครอบครอง การก่อสร้างในที่ดินแปลงหนึ่งเอนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นนั้น มิใช่การครอบครองที่ดินของผู้อื่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2497)
2. ทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่มีเจ้าของ แต่ต้องไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์นั้นต้องมีกรรมสิทธิ์ คือ เป็นโฉนด
3. โดยความสงบ ไม่มีผู้อื่นอ้างสิทธิดีกว่า ไม่โดนขับไล่ ไม่ถูกฟ้องร้อง

Lawมาเคลียร์ Ep.9 ที่ดิน “ตามบอด”…ต้องออกทางไหน?

ทางจำเป็นและทางภาระจำยอมแตกต่างกันอย่างไร ? กับ Podcast รายการ #Lawมาเคลียร์ Ep.9 ที่ดิน “ตาบอด”…ต้องออกทางไหน? อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์เป็นกำลังใจ และกด Subscribe Youtube : Justice Channel อย่าลืมกดกระดิ่งแจ้งเตือน ให้พวกเราด้วยนะครับ

ทางจำเป็น มีลักษณะอย่างไร
กรณีที่ 1 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้
กรณีที่ 2 ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทน

ทางภาระจำยอม มีลักษณะอย่างไร : อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ในทางกฎหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า ” สามยทรัพย์ ” ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า ” ภารยทรัพย์ ” ตัวอย่างภาระจำยอมเช่น ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง

ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ เรียกว่า #ทางจำเป็น อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า #ภาระจำยอม

Lawมาเคลียร์ Ep.10 ปล่อยตัวชั่วคราว = รอดคุกจริงหรือ?

การ #ปล่อยตัวชั่วคราว หลายๆ คนยังคงมีความสงสัยว่า การปล่อยตัวชั่วคราว คือ ไม่ต่างอะไรจากการพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษ เราจึงอยากอยากจะพามาเคลียร์เรื่องนี้ให้ชัดเจน กับ Lawมาเคลียร์ Ep.10 ปล่อยตัวชั่วคราว = รอดคุกจริงหรือ? จะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามรับฟังกันได้เลย