#Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…
อายุความบัตรเครดิตนั้น กฎหมายกําหนดไว้ให้มีกําหนดอายุความสองปี แล้วสองปี ที่ว่านั้นนับอย่างไร จะขอนําคดีจริงมาเล่าให้กับหลายๆ ท่านดังนี้
#คดีแรก นางนกน้อยใช้บัตรเครดิตของธนาคารครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 ธนาคารส่งใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายให้นางนกน้อย ชําระเงินขั้นต่ำภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เมื่อนางนกน้อยผิดนัด ธนาคารย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้นางนกน้อยชําระหนี้ได้ เมื่อครบ กําหนดตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย และเริ่มนับอายุความนับแต่วันนั้นมาปรากฏว่า นางนกน้อยชําระหนี้บางส่วนครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2544 อัน เป็นการรับสภาพหนี้ต่อธนาคาร ทําให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ ธนาคารฟ้องคดี วันที่ 29 ธันวาคม 2546 ถือว่าพ้นกําหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความใหม่ จึงขาดอายุความ ดังนั้นอายุความสองปี ก็เริ่มนับตั้งแต่เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเรียกร้อง หมายถึงวันที่ลูกหนี้ ผิดนัดชําระครั้งสุดท้ายนั่นเอง
#คดีที่สอง การที่ธนาคารได้ชําระเงินแก่เจ้าหนี้ของลูกค้าแทนลูกค้าไปก่อน แล้วเรียกเก็บเงินจาก ลูกค้าภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ธนาคารได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมี อายุความ 2 ปี ธนาคารได้บอกเลิกสัญญาใช้บัตรเครดิตกับนายสมศักดิ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2540 แต่ ธนาคารมาฟ้องคดี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 คดีของธนาคารจึงขาดอายุความ
#คดีที่สาม นายสมชายชําระหนี้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 การนับอายุ ความ จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็นวันชําระหนี้ในครั้งสุดท้าย การ ฟ้องของธนาคารจึงครบกําหนดอายุความในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 เมื่อธนาคารยื่นฟ้อง นายสมชายในมูลหนี้บัตรเครดิต ในวันที่ 16 กันยายน 2552 จึงยังไม่พ้นกําหนดอายุความสอง ปี 2
อย่างไรก็ตาม เมื่อผิดนัดชําระหนี้แล้วควรจะต้องรีบเจรจาเพื่อประนีประนอม หนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้นะครับ เพราะมูลหนี้บัตรเครดิตมีดอกเบี้ยผิดนัดชําระหนี้ที่สูงมาก ไม่ควรปล่อยไว้นาน
อ้างอิง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1), 193/15, 193/34