Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…
กรณีคดีนี้เป็นการทำพินัยกรรมตามแบบ ซึ่งกำหนดให้มีพยานสองคนต้องลงนาม ปรากฏว่า นายคมสันต์เป็นผู้ทำพินัยกรรม มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ ให้กับนายแดงลูกชาย แล้วนางพิมพ์พรซึ่งเป็นคู่สมรสของนายแดงมาลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมฉบับนั้น เป็นเหตุให้นายแดงไม่อาจเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ เพราะข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนที่ดิน 10 ไร่ของนายแดงเป็นโมฆะ สำหรับกรณีต่อไปนี้กฎหมายไม่ได้ห้ามถ้าพยานจะนั่งอยู่ขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมนะครับ ยกตัวอย่างจากคดีต่อไปนี้
“พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง หมายถึง พยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น กรณีตามคดีนางอิ่มซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม นั่นคือ รถยนต์หรูจำนวน 2 คัน ที่พ่อทำพินัยกรรมให้ นางอิ่มนั่งอยู่ด้วยขณะพ่อทำพินัยกรรม ซึ่งนางอิ่มไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม การนั่งอยู่ในขณะทำพินัยกรรมตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นพยานที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ดังนั้น พินัยกรรมจังไม่ตกเป็นโมฆะ นางอื่มจึงเป็นผู้รับรถยนต์หรูจำนวน 2 คันได้ครับ”
พินัยกรรมมีข้อโต้แย้งในหลายเรื่องเมื่อมีคดี ดังนั้น ใครจะทำพินัยกรรมต้องรอบคอบและปรึกษาผู้รู้ก่อนทำนะครับ
อ้างอิง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653