ค้นหา

EP.15 หากได้รับหมายศาล หมายคดีแพ่ง จะต้องทำอย่างไร?

Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

เมื่อได้รับหมายศาลคดีแพ่งแล้ว ต้องอ่านหมายนั้นอย่างตั้งใจว่าเป็นหมายอะไร ให้ไปทำอะไร ที่ไหน วันเวลา ซึ่งปฎิบัติตามได้ดังนี้

1. ดูว่าหมายที่มาถึงเป็นเป้าหมายคดีแบบไหน เช่น คดีแพ่งสามัญ คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีผู้บริโภค เป็นต้น

2. เมื่อทราบแล้วผู้รับหมาย มีหน้าที่ต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนี้

  • คดีแพ่งสามัญ ตามกฎหมาย เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177) เราก็ต้องมาดูว่าการส่งหมายเป็นแบบไหน คือ หากท่านไม่ให้เซ็นต์รับหมายศาลจะทำให้การปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งจะถือว่าจำเลยได้รรับหมายเรียก เพื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันปืดหมาย (15 บวกอีก 15) จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดหมาย แต่ถ้าเป็นการรับหมายต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมาย
  • คดีมโนสาเร่ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีผู้บริโภค จำเลยสามารถยื่นคำให้การด้วยวาจาได้ ซึ่งหมายจะระบุในวันที่นัด คือ นัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 193)

3. เมื่อรู้รายละเอียดของหมายและสำเนาคำฟ้องที่ได้รับมาแล้ว เราต้องปรึกษาผู้รู้ด้านกฎหมาย หรือทนายความ เพื่อวิเคราะห์ในหมายที่ส่งและคำฟ้อง หากจะต่อสู้คดีต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง โดยหน่วยงานที่ให้บริการปรึกษากฎหมายฟรี เช่น ทนายความอาสาของสภาทนายความ ประจำที่ศาลจังหวัดทั่วประเทศ และปัจจุบันมีทนายความอาสาประจำสถานีตำรจกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งให้บริการคำแนะนำทางกฎหมายฟรีแก่ประชาชน และหากคดีเข้าเงื่อนไขของการรับว่าเป็นคดีช่วยเหลือ ทางสภาทนายความจะมีบริการทนายอาสาดำเนินการว่าความให้ฟรี ประชาชนสามารถยื่นเรื่องได้ที่ประฐานสภาทนายความประจำจังหวัดนั้นๆได้

#หมายเรียกพยานบุคคล เราอาจจะไม่ตกเป็นจำเลยในคดีหรือเป็นโจทก์ แต่เป็นคดีอื่นซึ่งจะเป็นหมายเรียกมาถึงเราเพื่อเบิกความเป็นพยานต่อศาล เราจะต้องไปศาลตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ในหมายเรียก หากจงใจไม่ไปศาลตามหมายศาลอาจออกหมายจับเอาตัวกักขังไว้จนกว่าพยานจะได้เบิกความก็ได้ สิ่งที่ต้องเน้นย้ำสำหรับการตกเป็นจำเลยในคดีแพ่ง ท่านต้องไปปรึกษาผู้รู้กฎหมายและต้องไปศาลเพื่อรักษาสิทธิต่างๆ ของท่านทุกครั้งที่ศาลนัด ห้ามเพิกเฉยกระบวนการในชั้นศาลนะครับ

อ้างอิง: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 111, 177, 193