Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…
ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษา ไว้แทนเจ้าของจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการ รักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหาย นั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่ เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือย่ัวสัตว์นั้น ๆ ก็ได้
คดีแรก ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ จูง ไล่ ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุม เพียงพอ เมื่อจําเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสุนัขจึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องดูแลควบคุมมิให้สัตว์กีด ขวางการจราจร การที่สุนัขของจําเลยทั้งสองวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ใน ระยะกระชั้นชิด ย่อมเป็นผลโดยตรงที่ทําให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ล้ม เมื่อไม่ปรากฏจาก ทางนําสืบของจําเลยทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ ความระมัดระวังอย่างไร ดังนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจําเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการควบคุมดูแลสุนัข เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะ สัตว์ จําเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 วรรคหนึ่ง (ฎ. 6088/2559)
คดีสอง การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูโคแทนจําเลยทั้งสองปล่อยโคขึ้นไปกินหญ้าบน ไหล่ถนนอันเป็นทางหลวงระหว่างจังหวัดโดยอิสระไม่ผูกเชือกหรือจับจูงไว้ เป็นการปล่อยปละ ละเลยไม่ระมัดระวังดูแลสัตว์ตามสมควรเพราะถนนมิใช่ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ จําเลยทั้งสองจึง เป็นฝ่ายประมาทก่อน แต่การที่ ด. เห็นโคเดินอยู่ข้างถนนแล้วยังขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าใกล้ และบีบแตร เป็นเหตุให้โคตกใจและขวิดรถจักรยานยนต์ทําให้ ด. ถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นความประมาทของ ด. ส่วนหนึ่งด้วย (ฎ. 2628/2526)
คดีสาม สุนัขหลบหนีออกไปได้ขณะจําเลยเปิดประตู สุนัขจึงออกไปกัดโจทก์ได้แสดง ว่าจําเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลี้ยงดูสุนัขจําเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ โจทก์รวมทั้งทดแทนความตกใจและทุกข์ทรมานด้วย (ฎ. 2488/2523)
คดีสี่ ผู้รับมอบให้เลี้ยงรักษาช้างแต่ผู้เดียวจักต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ช้างไป ทําร้ายช้างอื่นถึงตายโดยความประมาทเลินเล่อของผู้เลี้ยงรักษาเจ้าของช้างไม่ต้องรับผิดร่วม ด้วย (ฎ. 973/2479) เป็นกรณีมอบให้ผู้อื่นเลี้ยงดูแลสัตว์ไม่ระมัดระวัง
คดีห้า เจ้าของช้างใช้ให้บุคคลอื่นเอาช้างของตนไปรับจ้างลากไม้ เป็นการที่บุคคลนั้น ทําแทนจําเลย เมื่อลูกของช้างนั้นไปทําอันตรายบุคคลภายนอกโดยผู้ที่เอาช้างของตนไปมิได้ใช้ ความระมัดระวังอันสมควร เจ้าของช้างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกช้างนั้น ทําอันตราย (ฎ.1006/2510) เป็นกรณีใช้ผู้อื่นเอาสัตว์ไปใช้งานไม่หลุดพ้นความรับผิด กรณีต่อไปนี้เป็นคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ประเด็นที่น่าสนใจคือ สุนัขจรจัดใคร จะเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วคนที่ให้อาหารสุนัขจรจัดต้องรับผิดหรือไม่ คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่ อ.1751/2559 ได้วินิจฉัยไว้ว่า เป็น หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการ ดูแลสุนัขจรจัด ซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อ สุนัขจรจัดไปทําลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น องค์การ บริหารส่วนตําบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ.2537 ให้ ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้นสอดคล้องกับ กรณีสุนัขจรจัดที่คนให้อาหารเป็นครั้งคราว เป็นบางครั้ง บางโอกาสด้วยความเมตตา รวมถึงคนที่ให้อาหารประจํา แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิตของ สุนัขจรจัด ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด ตามคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 764/2556
อ้างอิง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433