คำว่า “หมายค้น” นั้น หมายถึง หนังสือที่ออกโดยศาล สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าทำการตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมายในที่รโหฐาน
.
คำว่า “ที่รโหฐาน” นั้น ในทางกฎหมายให้หมายความถึง ที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานและคำว่า “ที่สาธารณสถาน” นั้น ประมวลกฎหมายอาญาให้หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
.
ดังนั้น ที่รโหฐานจึงหมายถึง สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ หรือเป็น “ที่ส่วนตัว” อันแสดงถึงเจตนาหวงกันของเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง อันได้แก่ เคหสถาน สำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น อสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองโดยปกติสุขของผู้อื่น ซึ่งการครอบครองโดยปกติสุขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ครอบครองได้แสดงออกให้เห็นภายนอกว่า ได้มีการหวงกันการเข้าไปของบุคคลอื่นๆ เช่น ด้วยการล้อมรั้วขึงลวดหนาม เป็นต้น
เวลากลางวัน หากไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาล ห้ามค้นในที่รโหฐาน ยกเว้น “เมื่อเกิดเหตุร้าย”
- ปรากฎความผิดซึ่งหน้า กระทำในที่รโหฐาน
- มีเสียงร้องให้ช่วยเหลือ หรือมีเหตุร้ายเกิดขึ้น
- บุคคลที่ทำความผิดซึ่งหน้า หลบหนีเข้าไปหรือซ่อนตัว
- มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้ได้มาหรือใช้ในการกระทำความผิด
- เมื่อผู้ที่ต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านและการจับมีหมายจับ หรือจับตาม มาตรา 78
ในเวลากลางคืน หากไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาล ห้ามค้นในที่รโหฐาน ยกเว้น “เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ”
- เมื่อเริ่มค้นตั้งแต่กลางวันแล้วยังไม่เสร็จ ต้องค้นต่อในเวลากลางคืน กรณีหมายค้นระบุว่า “ต้องค้นให้เสร็จสิ้น”
- เมื่อมีเหตุฉุกเฉินให้ค้นได้เป็นพิเศษ เช่น หากไม่ค้นทันทีผู้ร้ายจะหลบหนีไปได้ พยานหลักฐานจะสูญหายหรือถูกทำลาย
- ค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลก่อน
- ผู้ดุร้าย เช่น คนจิตไม่ปกติ จิตใจโหดเหี้ยมทารุณ เคยทำร้ายผู้อื่นมาก่อน
- ผู้ร้ายสำคัญ เช่น ผู้ทำความผิดอุกฉกรรจ์ ฆ่าคนตาย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
* ห้ามบุคคลในที่สาธารณสถาน ยกเว้น เมื่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ มีเหตุสงสัยว่ามีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้กระทำความผิด หรือได้มาโดยการทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิด
ที่มา: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(13), 92-93, 96
ความรู้เพิ่มเติม: “ค้น” ต้องมีหมายหรือคำสั่งศาล!