ในยุคที่ทุกคนมีสื่อโซเชียลอยู่ในมือ มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างอิสระ แต่รู้หรือไม่ว่าบางข้อความที่โพสต์ไป บางทีอาจจะพิมพ์แบบขำๆ สนุกๆ แต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนหรือถูกเกลียดชัง อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย “หมิ่นประมาท” แบบไม่รู้ตัว…
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
#ข้อความที่ผู้กระทำผิดส่งไปยังบุคคลที่สาม ต้องมีลักษณะเป็นการ “ใส่ความ” ผู้เสียหาย
การใส่ความตามกฎหมาย หมายถึง การที่ผู้กระทำ “สื่อสารข้อมูล” ไปให้บุคคลที่สาม ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเป็น “ความจริงหรือเท็จ” ถ้าข้อมูลนั้น “น่าจะ” ทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง “ก็ถือว่าเป็นการใส่ความ” …ส่วนจะได้รับการยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษหรือไม่ ต้องไปว่ากันอีกที
ตัวอย่าง
A เล่าให้ B ฟังว่า “น.ส. C ท้องก่อนแต่ง จึงต้องรีบจัดงานแต่งงาน ให้นับเดือนดูตอนเด็กคลอดได้เลย” ถ้า น.ส. C ท้องก่อนแต่งจริง ความเข้าใจในชีวิตประจำวัน… ก็ไม่ถือว่าการกระทำของ A เป็นการใส่ความ เพราะเป็นเรื่องจริง แต่… ตามกฎหมายอาญา “ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือเท็จ หากน่าจะทำให้ น.ส. C เสียชื่อเสียง ก็เป็นการใส่ความ” นาย A มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
#การใส่ความน่าจะทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
หมายถึง การถูกลดคุณค่าหรือความน่าเชื่อถือ ความน่าคบค้าสมาคมจากคนอื่น ๆ ในสังคม ข้อความที่ใส่ความนั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดผลทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ขึ้นจริง ๆ ถึงแม้บุคคลที่สามรู้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าเรื่องที่ใส่ความไม่ใช่เรื่องจริง ก็ยังถือเป็นความผิด …เพราะหลักที่สำคัญ ข้อความที่เป็นการใส่ความ “น่าจะ” ทำให้ผู้เสียหายอาจจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ก็ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นจริง
…ศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง จากพฤติการณ์ในคดี ไม่ได้ถือเอาตามความเข้าใจของผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด หรือพยานคนใดคนหนึ่ง
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2562
“ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไป เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวถึงถึงขั้นทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาท น่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ ไม่ใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว”
#การพิจารณาข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาท
ต้องพิจารณาจากข้อความทั้งหมด ประกอบบริบทของการกระทำ จะหยิบยกมาพิจารณาเฉพาะแต่คำใดคำหนึ่ง หรือตอนใดตอนหนึ่งไม่ได้ เพราะข้อความทั้งเรื่องย่อมเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน แสดงให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของข้อความทั้งหมด การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดเดา หรือคาดคะเน หรือทำนายอนาคต แต่…เป็นการแสดงความเห็นว่า “น่าจะ” เป็นอย่างนี้ โดยไม่สุจริต
ตัวอย่าง
แสดงความเห็นว่า น.ส. C น่าจะผ่านผู้ชายมาหลายคน ย่อมเป็นการชี้ให้เห็นว่า น.ส. C เป็นคนไม่ดี เป็นหมิ่นประมาทได้ เรื่องที่ใส่ความต้องเป็น “เรื่องที่ชัดเจนและเป็นไปได้” ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันหรือจิตนาการ เรื่องเลื่อนลอย หรือเป็นความเชื่อเท่านั้น
#หมิ่นประมาทเป็นคำหยาบหรือคำสุภาพ ไม่ใช่ประเด็น
ไม่จำเป็นต้องใช้คำก้าวร้าว หยาบคาย แม้เป็นคำสุภาพก็อาจจะเป็นหมิ่นประมาทได้ เช่น ไม่อุทิศเวลาให้ราชการ มาสายประจำ รับเงินเขามาแล้วไม่ทำงาน ผ่านผู้ชายมาหลายคน แต่….ในทำนองกลับกันข้อความที่เป็นการก้าวร้าวหยาบคายก็อาจจะไม่เป้นการหมิ่นประมาท แต่เป็นเพียงการ “ดูหมิ่น” เช่น ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ชาติหมา ไอ้ผีปอบ ไอ้เย็ดแม่ม รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/weareoja/photos/pcb.2731471900271898/2731465523605869 หรือ https://www.facebook.com/weareoja/photos/a.664480593637716/4538739639545106/?type=3
#ข้อความ ยิ่งจริง ยิ่งหมิ่นประมาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2527, 2499/2526
“ไม่ระบุชื่อ ไม่เอ่ยชื่อ หากคนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจทันทีหมายถึงใคร ก็อาจเป็นหมิ่นประมาท“
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2539, 2466/2551, 1513/2551, 3717/2547, 295/2505
กฎหมายน่ารู้ 67 : หมิ่นประมาท ฎีกาว่าไง?
#การเล่าต่อ หรือส่งต่อข้อความ ก็เป็นหมิ่นประมาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2509, 2822/2515
รายละเอียดเพิ่มเติม : การนินทาเป็นความผิด