ค้นหา

คิดก่อนค้ำ !!! “ข้อควรรู้ก่อนเป็นผู้ค้ำประกัน”

ข้อควรรู้ก่อนเป็นผู้ค้ำประกันใคร 

  1. อ่านสัญญาทุกครั้งก่อนเซ็นค้ำประกัน
  2. ห้ามเซ็นสัญญาที่เขียนว่า  “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้”
  3. อย่าเกรงใจเซ็นค้ำประกันให้ใครง่ายๆ 
  4. ดูให้แน่ใจว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือเงินชำระหนี้ได้
  5. อ่านสัญญาทุกครั้งก่อนเซ็นค้ำประกัน
  6. การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน 
  7. เขียนจำนวนเงินหรือความรับผิดในสัญญาได้
  8. รับผิดชอบตามที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น
  9. ให้รับผิดแทนลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้หนีหนี้แล้วเท่านั้น

ทำยังไง? เมื่อเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันจ่ายหนี้แทน

  • ไม่ต้องจ่ายหนี้แทนทันที เกี่ยงให้เจ้าหนี้…ไปเรียกร้อง จากลูกหนี้ให้ถึงที่สุดก่อน
  • ดูทรัพย์สินของลูกหนี้ว่าไม่มีอะไรใช้หนี้ได้
  • ให้เจ้าหนี้นำหลักประกันที่ยึดไว้ใช้หนี้ก่อนได้

*หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องทำหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ ภายใน 60 วัน หากไม่แจ้งจะเสียสิทธิในการทวงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าทวงถามหนี้จากผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันยุคใหม่ค้ำยังไงไม่ให้ทนทุกข์

  • ลูกหนี้ ต้องการกู้ยืมเงิน แต่เจ้าหนี้ไม่ให้เพราะไม่มีหลักประกัน ลูกหนี้จึงต้องหาผู้ค้ำประกัน
  • ผู้ค้ำประกัน ควรขอดูรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกัน
  • เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน
  • ผู้ค้ำประกัน รับผิดชอบตามที่ระบุไว้เท่านั้น

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิเกี่ยง  คือ  การบ่ายเบี่ยงให้ไปบังคับหนี้ที่ค้างชำระ เอากับลูกหนี้ก่อน

3 เหตุผลที่ผู้ค้ำประกันจะใช้สิทธิ “เกี่ยง” ไม่ต้องชำระหนี้แทนลูกหนี้ทันทีได้

หลังชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว

  1. มีสิทธิเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ได้
  2. เงินต้น  (2) ดอกเบี้ย (3) ค่าเสียหายค่าธรรมเนียม
  3. มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของลูกหนี้แทนเจ้าหนี้ 

เช่น สิทธิจำนำ, หลักประกันสัญญา

ที่มา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 -692