ค้นหา

กระบวนการยุติธรรม ยุค New Normal

มิติใหม่กระทรวงยุติธรรมในยุค New Normal โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ

จากสถานการณ์ Covid 19 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก รวมถึงกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย กระทรวงยุติธรรมจะมีมุมมองการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มาร่วมกันถอดบทเรียนกับ จากมุมมองของ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ จากการประชุมวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรมครั้งที่ 18 ในหัวข้อ มิติใหม่กระทรวงยุติธรรมในยุค New Normal

“เราอาจจะมองว่ามันเป็น Wake Up Call หรือการเปลี่ยนแปลง ในทางกระทรวงยุติธรรมเราได้มองเห็นประเด็นนี้ ว่าเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดการพัฒนา”

กระทรวงยุติธรรมมีมุมมองต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?

ในเชิง Concept ประการแรก ในการที่เกิด Covid 19 มันเกิดโลก Tangible โลกที่จับต้องไม่ได้ เป็นโลกที่ไม่ต้องการการติดต่อการสัมผัส ซึ่งจุดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงรากฐานความคิดอย่างมหาศาล เรามาถึงจุดหนึ่งที่มีความจำเป็นในการที่จะต้องปรับตัว เมื่อเกิดวิกฤตสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการ ก็คือ ต้องปรับตัว ถ้าเราลองย้อนหลังกลับไปในเรื่องของการปรับตัว มันอาจจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นานแล้วก็ได้ มันจะมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่อยู่ดีๆเราก็คิดแล้วมันเกิดขึ้นใหม่ เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราทำอยู่แต่เดิมอาจจะยังไม่ได้รับการยอมรับ เพราะว่าการยึดติดอยู่กับวิถีทางเดินของเราเนี่ย มันยังคงอยู่ แล้วคนก็จะไม่มีความรู้สึกถึงการปรับตัว อันนี้คือ จุดสำคัญ ที่ทำให้ทางกระทรวงยุติธรรมก็มองเห็นว่าในหลายๆเรื่องที่เราพบว่าถ้ามันเกิด การ Disturb ในเรื่องของการใช้ชีวิตเนี่ย สิ่งที่มันจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการเดินไปข้างหน้า มันมีหลายเรื่องที่เดินไปข้างหน้าได้อย่างจริงจัง

ในกรอบที่เรามองในเรื่องกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องมีการปรับตัวในเรื่องของการใช้ชีวิตใหม่ที่เห็นชัดเจนที่สุด ก็คือ ในการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องของการที่จะมีเทคโนโลยีแบบใหม่ แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในปัจจุบันให้นำมาใช้และสามารถเดินไปได้เนี่ย มันจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ต้องสนใจครับเพราะว่า ในเรื่องของการการจัดการในเรื่องของข้อมูลต่างๆเการเดินของงานโดยส่วนใหญ่การเดินของกระดาษ เป็นการเดินของสำนวน ในการทำงานไม่เป็นระบบราชการที่ใดก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินการด้วยการใช้ระบบกระดาษ ระบบการลงชื่อตามปกติ การเสนอสำนวนผ่านเป็นขั้นตอน กระทรวงยุติธรรมมีแผนในการที่จะพัฒนางานในทุกเรื่องให้กลับกลายมาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนจากการใช้กระดาษ มาเป็นการใช้อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูป ในช่วงก่อนที่จะมี Covid 19 ความพยายามชุดนี้เป็นความพยายามดั้งเดิม แต่ว่ามันก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากมายนัก มันจะมีกรอบวิธีคิดของคนที่อาจจะยึดติดกับความคิดเดิมอยู่ แต่เมื่อมี Covid 19 เราพบว่า มันเกิดการก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถที่จะทำงานอยู่บนอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องมีการลงชื่อ ปัจจุบันนี้ กรมต่างๆในกระทรวงยุติธรรม สามารถที่จะดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เกือบทั้งหมด สามารถที่จะอนุมัติ อนุญาต โดยไม่ต้องเข้าใช้ระบบกระดาษ และสามารถสื่อสารกับหน่วยงานยอมรับระบบการส่งข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ครบถ้วนแล้วนะครับ

ประการที่สอง การปรับเปลี่ยนในด้านเทคโนโลยี มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินคดีนะครับ ในการดำเนินคดีหลายส่วน ได้มีการย้ายฐานของการดำเนินงานจากระบบกระดาษมาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูป หมายความถึง การยอมรับในเรื่องของ Digital ID ที่เราได้สร้างระบบคู่กับทาง ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) อยู่ด้วย ระบบที่มีการพัฒนาผ่านไปอย่างชัดเจนแล้ว ก็ได้แก่ กรมบังคับคดี เป็นการดำเนินงานที่เดินหน้ามาเป็น 10 ปีแล้วนะครับ และในหน่วยอื่นๆ อย่างเช่น กองทุนยุติธรรม ทางสชง. (สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินฯ ) การช่วยเหลือประชาชนทางด้านค่าเสียหายและค่าตอบแทนในคดีอาญา ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ก็ได้มีการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ในการทำงาน ซึ่งเราจะต้องมานั่งทำงานในที่ทำงานการทำงานก็เปลี่ยนไป ซึ่งการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเนี่ย มันคือ “การทำงานด้วยระบบ 24 x 7 คือ ทำงานโดยตลอดเวลา และไม่มีระยะเวลา” เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนในแง่ของเทคโนโลยีสารสนเทศชื่อว่ามันจะเกิดการเปลี่ยนในลักษณะของการทำงานภาพจำของการทำงานที่จะต้องมาที่ออฟฟิศ ภาพจำของการที่จะต้องมาทำงานด้วยตัวเอง เราพบว่าได้เปลี่ยนแปลงไปมาก

ในกรอบการทำคดี ปัจจุบันนี้ ระบบ e-filing ก็เป็นระบบที่นำมาใช้ ทางกรมบังคับคดีเริ่มนำ ทางสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเริ่มนำมาใช้ จะนำไปสู่การยอมรับ Digital ID ขณะนี้ผมเข้าใจว่าในประเทศเรา ทางกรมการปกครองเองได้มีการยกระดับการทำงาน เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะเป็นการยกระดับการทำงานของ Digital ID ขึ้นไป แน่นอนครับการเปลี่ยนลักษณะอย่างนี้ ก็อาจจะมีบางกลุ่มที่อาจจะยังตามไม่ทัน ในกระบวนการในการทำงานก็ต้องมีวิธีการในการที่จะดูแลคนกลุ่มนี้ ซึ่ง “กระทรวงยุติธรรมก็จะมีระบบงาน ที่เรียกว่า Justice Care เป็นระบบที่จะดูแล คนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบนี้ได้ โดยจะให้ทางเจ้าหน้าที่สามารถที่จะเข้าไปติดต่อคนต่างๆเหล่านั้น เมื่อมีความต้องการ”

การใช้เทคโนโลยีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในหลายๆเรื่อง กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุมครองเด็กและเยาวชน มีปริมาณเนื้องานในการดูแลคนมหาศาล การมาวิเคราะห์ว่าแต่ละคนที่เข้ามาในระบบ จะต้องใช้กระบวนการในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเขาอย่างไร ใช้เวลามากนะครับ และก็ต้องอาศัยกระบวนการการติดตาม ปัจจุบันกระทรวงยุติธรรมประสบความสำเร็จในการจัดทำซอฟแวร์ขึ้นมา ซึ่งเป็นระบบ AI ในการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยเครื่องกล จะทำให้เราสามารถประเมินได้ว่าบุคคลที่เข้ามาอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นทางกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจฯ กรมคุมประพฤติ มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดซ้ำ มาก/น้อย เท่าไหร่ แล้วอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เขา น่าจะมีโอกาสในการกระทำความผิด ซึ่งถ้าระบบนี้เริ่มใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดการเรียนรู้ทำให้เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาของบุคคลแต่ละคน จะทำให้กระบวนการต่างๆ สามารถเดินไปได้

อีกส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญในเรื่องของการดำเนินการ ในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มันไม่ได้แค่กระบวนการยุติธรรม คนข้างนอกก็เปลี่ยนไปใช้กระบวนการยุติธรรม การเปลี่ยนวิธีการคิดในเรื่องการทำความผิด การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะฉะนั้น หน่วยงานที่จะต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง ในการที่จะติดตามการดำเนินคดีต่างๆ ยาเสพติด การซ่อนทรัพย์สิน ก็จะมีเปลี่ยนแปลงการไปมาก การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มันก็จะมีความเปลี่ยนแปลงสูง ซึ่งในส่วนนี้ ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการปรับปรุงแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Public แล้วก็มีการใช้ใน Social platform ต่างๆ ในหลายๆส่วนที่กล่าวมา เรามองว่ามันมีการปรับตัว หรือเรียกว่าเรา adap ยังไงกับโลกที่มันเปลี่ยนไป ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การปรับตัวที่เกิดขี้นมันเป็นการปรับตัวในเรื่อง Passive เราก็พยายามใช้สิ่งที่มีทำให้สิ่งที่คิดมันสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากขึ้น แน่นอนการใช้ระบบออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น มากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง

ผมอยากให้เรามองลึกลงไปอีกโดยเฉพาะงานของสํานักงานกิจการยุติธรรม ความเป็นแปลงของระบบสารสนเทศมันมีนัยมาก ถ้าหากว่าเราสามารถมองทะลุลงไป เราเอาจจะมองเห็นและคาดเดาว่าบางสิ่งบางอย่างอาจจะเกิดกับกระบวนการยุติธรรมมาก ยกตัวอย่าง ถ้าเรามองภาพของการจัดการกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราจะพบว่า รูปแบบที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน การที่เราพูดถึงการเก็บพยานหลักฐานที่เรามุ่งเน้นในเรื่องพยานบุคคลจะต้องมานำแสดง หรือ พยานเอกสาร ผมคิดว่าในอนาคตความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล ปัจจุบันนี้เราไม่ต้องหาพยานบุคคล มาอธิบายว่ารถชนกันยังไง เพราะว่าภาพต่างๆ มันมีการเก็บในระบบ พิธีกรรมต่างๆ การดำเนินการของกระบวนการยุติธรรมผ่านตัวแทน เป็นสิ่งที่หน้าคิด อาจจะต้องฝากทางทนายความดูด้วย “ปัจจุบันนี้ระบบสารสนเทศ จุดนี้จะเป็นระบบหนึ่งที่การตัดตัวกลาง หมายความว่า คนที่มีความสุขทุกข์ได้ยากอะไรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม การเข้าถึง และไปยังคนที่จะมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจเนี่ย มันจะเร็วมาก” เพราะฉะนั้น ภาพที่จะเกิดขึ้น การเรียกร้องการข้อเสียหาย การรับรู้ จะเกิดกระบวนการอย่างรวดเร็ว สามารถลงใน Facebook ที่ทำให้คนทุกคนสามารถรู้ได้ อันนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ จะมีความเปลี่ยนแปลงผ่านคนที่ทำหน้าที่ ในการเป็นตัวกลาง ในการให้ความยุติธรรม “ผมเชื่อว่าการของกระบวนยุติธรรมในอนาคตจะทํางานภายใต้แรงกดดันที่สูงขึ้น สิ่งที่เราทำอยู่ทุกอย่างเนี่ย มันจะไม่ได้อยู่ในสำนวน มันจะไม่ได้อยู่แค่ในห้องพิจารณา ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล ทุกคนมีความสามารถที่จะกลายเป็นคนที่ตัดสินใจ มุมมอง วิธีคิด เพราะฉะนั้น คนที่ทำงานในการตัดสินคดี ต้องรับแรงกดดัน ก็จะทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในโลกโซเชียล กรณี Drama types ต่างๆ ก็จะเป็นประเด็นที่ทำให้คนที่ตัดสินคดีจะต้องรับกับแรงกดดัน ทุกคนก็จะกลายเป็นผู้พิพากษาขึ้นมา จากการที่ดูในเนื้อหา พยานหลักฐาน ที่เขาสามารถที่จะเข้าถึงในโลกปัจจุบัน”

ตรงนี้อยากจะฝากทาง สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผมเชื่อว่าในอนาคต หน้าตาจะไม่เหมือนอย่างนี้ การใช้เทคโนโลนีต่างๆ อาจจะต้องคิดถึงการเปลี่ยนแปลง ในต่างประเทศในการโต้แย้งทางคดี ในชั้นอุทรณ์ก็ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ยกตัวอย่าง ในอนาคตการขายทรัพย์สิน ของกรมบังคับคดี ที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน ที่ต้อง physical bidding เข้ามาในห้องมันจะหายไป มันจะกลายเป็นระบบใหม่ ที่อาจจะต้องมานั่งคิด ระบบที่เป็น e-bidding โดยแท้ และเปิดโอกาสให้มีคนเข้าถึงได้มากขึ้น หน้าตามันจะเป็นยังไง ในกรอบนี้ก็เป็นความท้าทายนะครับ ผมชื่อว่า ทั้งสำนักงานกิจการยุติธรรม ทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ก็สามารถเดินไปยังจุดที่เราสามารถจะปรับตัว แล้วก็สามารถทำได้ดี เอาโอกาสที่เกิดขึ้นมาเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทั้งหมด