ค้นหา

EP.18 โทรศัพท์แล้วด่าทอกันแต่อยู่คนละที่ จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นหรือไม่?

Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

การดูหมิ่นกันซึ่งหน้าคือ มีการใช้ถ้อยคำด่ากัน โดยกรณีโทรศัพท์แล้วอยู่คนละที่จะผิดดูหมิ่นกันหรือไม่?

หลักกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นความผิดลหุโทษ

คำว่า “ดูหมิ่น” ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไรแต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทหรือทำให้อับอาย โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น การวินิจฉัยว่า การกล่าวดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

ส่วนกรณีที่ไม่ผิดกฎหมายอาญาฐานดูหมิ่น เช่น

  • คำพูดไม่สุภาพ เช่น มีการทะเลาะโต้ะเถียงกันแล้ว จึงพูดว่าจำเลยเป็นนายจ้างที่ใช้ไม่ได้ พูดจากลับกลอกเดี๋ยวว่าไม่ให้ เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าต่อหน้าธารกำนัล ถือว่าไม่ได้ว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน เช่น การที่ทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นซึ่งหน้าโต้ตอบซึ่งกันและกันดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
  • การคาดคะเนเหตุการณ์ เช่น นาย ก. ถามนาย ข. ว่ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนาง ค. หรือไม่ จึงเป็นเพียงการคาดคะเนของนาย ก. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันน่าจะทำให้นางสร้อยเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแต่ประการใด นาย ก. จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่านาย ก. กล่าววาจาต่อหน้านาง ค. จึงไม่เป็นการดูหมิ่นนาง ค. ซึ่งหน้า นาย ก. ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า

อ้างอิง: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393