ค้นหา

EP.13 เด็กทำความผิด พ่อแม่ต้องรับผิดชอบหรือไม่?

Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

สำหรับความผิดเราต้องแยกระหว่างความผิดทางอาญา กับความรับผิดทางแพ่ง ปัจจุบันตามประมวลกฎหมายอาญาแบ่งความรับผิดออกตามช่วงอายุ ดังนี้

ป.อ. มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกิน 10 ปี กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดําเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย

ป.อ. มาตรา 74 เด็กอายุยังไม่เกิน 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี กระทําการอันกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ในศาลมีอํานาจที่จะดําเนินการ เช่น ว่ากล่าว ตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป หรือถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ บุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ หรือศาล ผู้ปกครองระหว่างเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกําหนดซึ่งต้องไม่เกินสามปีและกำหนดจำนวน

ป.อ. มาตรา 75 ผู้ใดอายุกว่า 15 ปี แต่ต่ำกว่า 18 ปี กระทําการอันกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น ในอันที่ จะควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ ให้จัดการตามมาตรา 74 หรือถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่ กําหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง

ป.อ. มาตรา 76 ผู้ใดอายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ยังไม่เกิน 20 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้

สำหรับในความรับผิดทางแพ่งนั้น มีกฎหมายกำหนดความรับผิดระหว่างผู้เยาว์กับบิดามารดาไว้อย่างชัดเจน ป.พ.พ. มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อม ต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ดังนั้น แม้พ่อแม่ไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดทางอาญา แต่ความรับผิดทางแพ่งพ่อแม่อาจจะไม่หลุดพ้นที่จะต้องร่วมรับผิดกับเด็กในทางละเมิดนะครับ

กรณีตัวอย่างของคดีความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องรับผิดร่วมกับผู้เยาว์ในผลที่ผู้เยาว์ในผลที่ผู้เยาว์ทำละเมิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาของผู้เยาว์ต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว

การใช้อำนาจปกครองของบิดามารดารวมถึงการที่จะต้องคอยอบรมสั่งสอนดูแลตลอดจนควบคุมบุตรผู้เยาว์ มิให้ออกไปประพฤติตนเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การที่บุตรผู้เยาว์อายุ 18 ปี ทำละเมิดในระหว่างที่ไปเรียนหนังสือ ข้อที่ว่าบิดามารดาไม่เคยอนุญาตให้ผู้เยาว์ขับรถจันรยานยนต์ที่บ้านไปโรงเรียนหรือรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เยาว์ขับเป็นของเพื่อนผู้เยาว์ และขณะเกิดเหตุอยู่ในช่วงเวลาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน มิใช่ข้อที่บิดามารดา จะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้เ

ผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และบิดามารดาทราบดีกว่าผู้เยาว์สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ และเคยขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้าน แต่บิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โดยปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้านทั้งที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ย่อมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยง่าย

อ้างอิง: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73, 74, 75, 76

อ่านความรู้เพิ่มเติม: เกณฑ์อายุเด็กหรือเยาวชนเมื่อถูกจับในคดีอาญา , PODCAST | เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ถูกจับกุมต้องทำอย่างไร?