ค้นหา

EP.11 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่ง

#Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง หมายความว่า เป็นกระบวนที่ยังไม่มีการเสนอคําฟ้องต่อศาล ซึ่งถือเป็นระบบการไกล่เกลี่ยเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่ง เพื่อเป็นช่องทางในการยุติข้อ พิพาท

  • ขั้นตอนของการยื่นไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี
    1. ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจ หากมีการฟ้องคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณี ที่ เกี่ยวข้องได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท
    2. เมื่อศาลเห็นสมควรให้ศาลรับคําร้องนั้นไว้แล้วดําเนินการสอบถามความ สมัครใจของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมเข้า ร่วมการไกล่เกลี่ย ให้ศาลมีอํานาจเรียกคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมาศาลด้วยตนเอง โดยคู่กรณีจะมี ทนายความมาด้วยหรือไม่ก็ได้ และแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดําเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป
    3. ถ้าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ ให้ผู้ ประนีประนอมเสนอข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล หากศาลพิจารณา แล้วเห็นว่าข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี หลักแห่ง ความสุจริต เป็นธรรม และไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ก็ให้คู่กรณีลงลายมือชื่อในข้อตกลงหรือ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
    4. ในวันทําข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาอาจร้อง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาตามยอม พร้อมแสดงเหตุผลความจําเป็นต่อศาล หากศาลเห็นว่ากรณี มีความจําเป็นที่สมควรจะมีคําพิพากษาไปในเวลานั้น ก็ให้ศาลมีคําพิพากษาไปตามข้อตกลง หรือ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
    5. การขอและการดําเนินการ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล วิธีการยื่นคําร้อง สามารถทําได้โดยทางไปรษณีย์ ผู้รับส่งพัสดุภัณฑ์ โทรสาร หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นตามที่สํานักงานศาลยุติธรรมประกาศกําหนด ลักษณะคดีข้อพิพาททางแพ่งที่ยื่นได้ คดีข้อพิพาทเกี่ยวกับ การกู้ยืมเงิน การผิด สัญญา ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์สามารถดําเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้ทั้งสิ้น เว้นแต่คดีต้องห้ามเท่านั้น

#ข้อดี เป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกให้คู่กรณีสามารถตกลงหรือประนีประนอม ยอมความกันก่อนจะมีการฟ้องต่อศาล ซึ่งยังไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล และหากสามารถตกลงหรือ ประนีประนอมกันได้ สามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคําพิพากษาตามยอมได้ ตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนการให้ศาลมีคําพิพากษาใน ประเด็นแห่งคดีตามที่คู่ความตกลงกันนั่นเอง

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังจากยื่นฟ้องคดี

ข้อกําหนดประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 และแก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 กําหนดรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระงับข้อพิพาทของคู่พิพาท การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังฟ้อง คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นหลังจากมีการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว วัตถุประสงค์ของการไกล่เกลี่ย คือ เปิดโอกาสให้คู่ความสามารถยุติข้อ พิพาทได้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ แต่ถือว่าคู่ความทั้ง สองฝ่ายชนะด้วยกันทั้งคู่และทั้งสองฝ่ายยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้ต่อไป ข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ย ประกอบด้วย ข้อพิพาททางแพ่งและพานิชย์ทั่วไป ข้อพิพาททางอาญาที่ยอมความได้ ข้อพิพาทอื่นที่ยุติได้โดยวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ประนีประนอม หมายถึงบุคคล 3 ประเภท 1. ผู้พิพากษา 2. ข้าราชการศาล 3. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่ เกลี่ยให้คู่พิพาทได้ประนีประนอมกัน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใช้เวลานานเท่าใด ระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขึ้นอยู่ กับความยาก ง่ายของข้อพิพาทหรือคดี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือน

อ้างอิง: พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2563