
ในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 ยังคงรุนแรง หลายคนยังต้องทำงานที่บ้าน แต่รู้หรือไม่!จริง ๆ แล้วประเทศไทยมีกฎหมายรองรับเกี่ยวกับการรับงานและจ้างงานไปทำที่บ้านด้วย!
รีบอ่านเพื่อสิทธิของทั้งผู้จ้างและผู้รับงานงานที่รับไปทำที่บ้านคืออะไร งานที่ผู้จ้างงานในกิจการอุตสาหกรรมมอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อนำไปผลิต/ประกอบนอกสถานประกอบกิจการของผู้จ้างงานความปลอดภัยในการทำงานที่ผู้จ้างงานควรรู้
1. ห้ามหญิงมีครรภ์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำงานลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ/ความปลอดภัย
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* หญิงมีครรภ์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับอันตรายร่างกาย/จิตใจ/ตายจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. งานที่กฎหมายห้ามจ้างงานและรับไปทำที่บ้าน
- งานวัตถุอันตราย
- งานที่ทำด้วยเครื่องมือ/เครื่องจักรที่ผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอาจเป็นอันตราย
- งานความร้อนจัด (ระดับความร้อนภายในสถานที่ทำงานเกินเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 34 องศาเซลเซียสในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงของการทำงานติดต่อกัน)/เย็นจัด อาจเป็นอันตราย
- งานที่อาจกระทบต่อสุขภาพ/ความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม (งานเลื่อยสายพาน/งานที่ก่อให้เกิดเสียงดังต้องสัมผัสระกับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง เกินกว่า 80 เดซิเบลเอ)
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ห้ามผู้จ้างงานจัดหา/ส่งมอบวัตถุดิบ อุปกรณ์ สิ่งอื่นที่ใช้ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน/ครอบครอบ/ผู้มาติดต่อ/ชุมชน/สิ่งแวดล้อม
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ผู้จ้างงานต้องแจ้งเตือน/แจ้งข้อมูลอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากวัตถุดิบ อุปกรณ์ สิ่งอื่นที่ใช้ทำงาน และวิธีการป้องกันแก้ไขอันตราย และจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสม/เพียงพอ
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
5. ผู้รับงานไปทำที่บ้านต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานที่ผู้จ้างงานจัดให้
6. ผู้จ้างงานรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล/ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ/ค่าทำศพ กรณีผู้รับงานไปทำที่บ้านประสบอันตราย/เจ็บป่วย/ทุพพลภาพ/ตาย เนื่องจากการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ สิ่งอื่นที่ใช้ทำงานที่ผู้จ้างงานจัดให้/ส่งมอบ/ไม่จัดให้ หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ณ สถานที่ทำงาน
สิทธิและหน้าที่ผู้จ้างงาน สิทธิและหน้าที่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
1. ทำเอกสารเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านเป็นภาษาไทย มอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน 1 ฉบับ และเก็บไว้สถานประกอบการผู้ว่าจ้าง 1 ฉบับ (เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่จ่ายค่าตอบแทน) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้
รายละเอียดเอกสาร
- ชื่อ ที่อยู่ เพศ อายุผู้รับงานไปทำที่บ้าน
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ว้างจ้าง/ผู้แทน/ผู้รับเหมาช่วง
- อัตราค่าตอบแทน/วิธีคำนวณ
- หักค่าตอบแทน/หลักประกันที่ได้รับจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน
- ประเภท/ปริมาณ/มูลค่าของงานที่รับไปทำที่บ้าน
- กำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานแต่ละงวด
- กำหนดวันส่งมอบงานและวันจ่ายค่าตอบแทน
- รายมือชื่อของผู้ว่าจ้างและผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ลงโทษ : ปรับไมเกิน 10,000 บาท
2. ห้ามบอกเลิกการจ้าง ในระยะเวลาทำงานที่ตกลงกัน ยกเว้นเป็นความผิดของผู้รับงานไปทำที่บ้านหรือผู้จ้างงานมีความจำเป็นที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้ โดยผู้จ้างงานจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
3. บอกเลิกการจ้างและมอบให้คนอื่นรับงานไปทำแทนได้ กรณีที่ผู้จ้างงานไม่ตกลงขยายเวลาส่งมอบงานและได้รับความเสียหายจากความล่าช้าในการส่งมอบงานโดยไม่ใช่ความผิดของผู้จ้างงาน
4. ห้ามเรียก/รับหลักประกันการทำงาน – ความเสียหายจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน ยกเว้นประเภท/ปริมาณ/มูลค่างานอาจทำให้ผู้จ้างงานเสียหาย (ตามหลักเกณฑ์/วิธีการ/เงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ)
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
1. ตกลงขยายเวลาส่งมอบงานได้ กรณีที่มีเหตุและคาดหมายได้ว่างานที่รับไปทำที่บ้านจะไม่เสร็จ โดยแจ้งให้ผู้จ้างงานทราบโดยเร็ว
2. เรียกค่าเสียหายจากเหตุบอกเลิกการจ้างงาน กรณีไม่เป็นความผิดของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
3. ผู้จ้างงานต้องรับงานไว้และจ่ายค่าตอบแทนตามสัดส่วนของงานที่ทำ กรณีสาระสำคัญของการจ้างงานอยู่ที่ความรู้ความสามารถของผู้รับงานไปทำที่บ้านและการจ้างสิ้นสุดลง เพราะผู้รับงานไปทำที่บ้านตาย/ทำงานต่อไม่ได้เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้รับงานไปทำที่บ้าน แต่งานที่ทำเป็นประโยชน์แก่ผู้จ้าง
4. ใช้วัตถุดิบ/อุปกรณ์/สิ่งที่ใช้ทำงานที่ผู้จ้างงานเป็นผู้จัดหา ด้วยความระมัดระวังและประหยัด (ยกเว้นตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น) เมื่องานสำเร็จแล้วถ้าเหลือให้คืนแก่ผู้จ้างงาน
ค่าตอบแทน
- อัตราค่าจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (งานที่รับไปทำที่บ้านมีลักษณะ/ปริมาณ/คุณภาพเท่ากัน) ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- จ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินตราไทย (ยกเว้นยินยอมให้จ่ายเป็นตั๋ว/เงินตราต่างประทศ)
- จ่ายค่าตอบแทนขณะส่งมอบงานที่ทำ/จ่ายตามตกลงแต่ไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ส่งมอบงานลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- จ่ายค่าตอบแทน ณ สถานที่ทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน/สถานที่
- วิธีอื่น (ต้องได้รับความยินยอม) ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ห้ามหักค่าตอบแทน ยกเว้นหักเพื่อ…
1) ชำระภาษีเงินได้ (ตามประมวลรัษฎากร)
2) ชำระเงินอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (เช่น หนี้ตามคำพิพากษา)
3)ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้จ้างาน (ต้องได้รับความยินยอมและห้ามหักเกิน 10%)
4)ชำระค่าเสียหาย/ค่าปรับกรณีส่งมอบงานไม่ทันเวลากำหนด (ต้องได้รับความยินยอมและห้ามหักเกิน 10%)
ลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
*ผู้จ้างงานไม่จ่ายเงิน/ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ : ผู้รับงานไปทำที่บ้าน/ทายาท สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานท้องที่ที่ทำงานอยู่/ภูมิลำเนาที่ผู้จ้างงานอยู่
อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 / กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของงานที่ห้ามผู้จ้างงานจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๔