การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
“ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงหรือประทับตราปลอม หรือ ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่ง ผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้นถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ศึกษากรณีตัวอย่าง : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2557
การปลอมเอกสารแต่ละประเภท มีโทษแตกต่างกัน ดังนี้
- ปลอมเอกสารทั่วไป มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ปลอมเอกสารสิทธิ หรือ เอกสารราชการ มีโทษ จำคุก 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท
- ปลอมเอกสารตาม มาตรา 266 มีโทษ จำคุก 1 – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท
การทำปลอม คือ เจตนาทำให้เหมือนของจริง หรือเอาของเทียมมาทำให้เหมือนของแท้
1.1 ทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือ
1.2 เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือ
1.3 ประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอม
1.4 การกระทำน่าจะเกิดความเสียหายแก่คนอื่นหรือประชาชน โดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อให้คนหนึ่งคนใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง
อ้างอิง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264-269
อ่านอินโฟกราฟิก เรื่อง คิดจะปลอม? กฎหมายล้อมไว้หมดแล้ว!
กฎหมายง่ายจัง ตอน ปลอมลายเซ็นผิดกฎหมาย