Q : ยืมเงินไม่มีสัญญา ฟ้องศาลได้หรือไม่?
A : ได้ครับ ปัจจุบัน การยืมเงินผ่านทาง Facebook หรือทาง LINE โดยมีข้อความครบถ้วนว่า ยืมเงินเป็นจำนวนเท่าใด จะใช้คืนเมื่อไหร่ ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกู้ยืม โดยกฎหมายให้ถือเอาชื่อ Facebook เป็นการลงลายมือชื่อของผู้ยืมด้วย โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับประกอบด้วยครับ
การนำสืบการใช้เงินตามสัญญากู้ยืมเงิน
แม้กฎหมายจะวางหลักให้มีหลักฐานเป็นหนังสือในกรณียืมเงินกว่า 2,000 บาท จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ แต่หากการกู้ยืมเงินจะทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไว้ สามารถทำได้ อีกทั้งมีรายละเอียดครบถ้วนว่า… ยืมเงินจำนวนเท่าใด จะใช้คืนเมือไหร่ ลายมือชื่อทั้งผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม จึงสามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้เช่นกัน
การนำสืบนั้นทำได้ 3 วิธี
- มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง
ตัวอย่าง นาย A กู้ยืมเงิน นาย B 50000 บาท ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนาย A ผู้ยืมแล้ว ต่อมาเมื่อ นาย A นำเงินมาคืนให้แก่ นาย B ก็ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ นาย B ไว้ - เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว
ตัวอย่าง นาย A กู้ยืมเงิน นาย B 50000 บาท ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนาย A ผู้ยืมแล้ว ต่อมาเมื่อ นาย A นำเงินมาคืนให้แก่ นาย B นาย B ต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานที่ลงลายมือชื่อนาย A มอบให้นาย A - แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว
ตัวอย่าง นาย A กู้ยืมเงิน นาย B 50000 บาท ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนาย A ผู้ยืมแล้ว ต่อมาเมื่อ นาย A นำเงินมาคืนให้แก่ นาย B นาย B ต้องขีดฆ่าสัญญากู้ หรือแก้ไขจำนวนเงินกู้ให้ลดลง ( กรณีชำระยังไม่หมด ) หรือเขียนข้อความลงไปว่าเพิกถอน
ซึ่งต้องเป็นการชำระต้นเงินและชำระด้วยเงินสดเท่านั้น หากการกู้ยืมเงินมีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้และมีการชำระดอกเบี้ยแล้ว หรือคืนเงินด้วยการโอนเข้าบัญชีธนาคาร กฎหมายให้สามารถนำสืบด้วยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ได้
#ยืมเงิน
ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653