ค้นหา

ข้าวหมาก ขายได้ไหม?

การผลิต/ขาย “ข้าวหมาก” ที่ห่อใส่ใบตองหรือภาชนะที่ใช้สำหรับตักกิน สามารถขายได้ ไม่ผิดกฎหมายเพราะถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน 

แต่หากเป็นน้ำข้าวหมากที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งหรือแปรรูปเป็นน้ำของเหลว ที่สามารถดื่มกินได้หรือมีระดับดีกรีเกินกว่ากฎหมายกำหนด
เมื่อดื่มกินแล้วทำให้เกิดอาการมึนเมาจะเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มของสาโทหรือสุราแช่พื้นบ้าน จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสินค้าที่มีแอลกอฮอล์ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลมาตรฐานจากรัฐและเข้าสู่ระบบเสียภาษีสรรพสามิตอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ต้องมีการจัดระเบียบพื้นที่การจำหน่ายด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก เยาวชน เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย 

ข้าวหมาก ขายได้ไหม?

แบบไหนเรียกว่า “สุรา” ถ้าผลิต/ขาย ต้องเป็นไปข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 :
“สุรา” ให้หมายความรวมถึงวัตถุหรือส่วนผสมที่มีแอลกอฮอล์ ที่สามารถดื่มกินได้เหมือนสุรา หรือดื่มกินไม่ได้แต่เมื่อผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เหมือนสุรา (ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 0.5 ดีกรี)
“สุราแช่” คือ สุราที่ไม่ได้กลั่น และให้หมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว (มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี)
“สุรากลั่น” คือ สุราที่ได้กลั่นแล้ว และสุราที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว (มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี)

** ใครประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่น/ผลิตสุราไว้ครอบครอง ต่อขออนุญาต และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด (ใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต) 

บทลงโทษ :
– ขายสุรา ที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต = ปรับไม่เกิน 50,000 บาท 
– ซื้อหรือมีไว้ในครอบครองสุรา ที่ผลิตโดยโดยไม่ได้รับอนุญาต = ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าสุรามีปริมาตรต่ำกว่า 1 ลิตร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
– ผลิตสุราโดยไม่ขออนุญาต = จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– ได้รับอนุญาตผลิตสุรา แต่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด = ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

เสียงความรู้กฎหมาย ตอนที่ 143 ข้าวหมากขายได้ไหม

อ้างอิง : พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 (มาตรา 152, 153, 191-194)

สอบถามข้อมูลได้ที่ : กรมสรรพสามิต