ค้นหา

ห้ามอุ้ม! ห้ามหาย! ห้ามทรมาน!

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 (บังคับใช้ 22 ก.พ.66)

การทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย ที่ทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ที่ไม่อาจทำได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ ดังนั้น เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย จึงกำหนดฐานความผิดมาตรการป้องกันและปราบปรามและมาตรการเยียวยาผู้เสียหาย ตลอดจนมาตรการอื่นให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการบังคับให้หายสาบสูญ

ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำทรมานและทำให้บุคคลสูญหาย

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คือ บุคคลที่ใช้อำนาจรัฐ หรือได้รับมอบอำนาจ หรือได้รับการแต่งตั้ง อนุญาต สนับสนุน หรือยอมรับโดยตรงหรือโดยปริยาย จากผู้มีอำนาจรัฐให้ดำเนินการตามกฎหมาย

“ผู้เสียหาย” คือ บุคคลที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายหรือจิตใจจากการทรมานการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือทำให้บุคคลสูญหาย และรวมถึงสามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้อุปการะและผู้อยู่ในอุปการะของผู้ถูกกระทำให้สูญหาย

“ควบคุมตัว” คือ การจับคุมตัว ขัง กักตัว กักขัง หรือกระทำอื่นในทำนองเดียวกันที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในร่างกายของบุคคล

เมื่อถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

  1. บันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง “ในขณะจับ” และ “ควบคุม” จนกระทั่ง “ส่งตัวให้พนักงานสอบสวน” หรือ “ปล่อยตัว”   ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถทำได้ ให้บันทึกเหตุนั้นเป็นหลักฐานไว้ในบันทึกควบคุมตัว หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย ให้ผู้รับแจ้งดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาเพื่อให้มีคำสั่งยุติการกระทำทันที
  2. แจ้งพนักงานอัยการและนายอำเภอในท้องที่ ที่มีการควบคุมตัวโดยทันที สำหรับในกรุงเทพฯ ให้แจ้งผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ
    กรมการปกครอง
     —> หากผู้รับแจ้งเห็นว่ามีเหตุสมควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทำโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  3. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังนี้
    – ข้อมูลอัตลักษณ์ของผู้ถูกควบคุมตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ตำหนิรูปพรรณ
    – วัน เวลา และสถานที่ถูกควบคุมตัว และข้อมูลเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ทำการควบคุมตัว กรณีย้ายสถานที่ต้องสถานที่ปลายทางที่รับตัวของผู้ถูกควบคุมตัวและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ย้าย
    – คำสั่งควบคุมตัว เหตุการออกคำสั่ง และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ออกคำสั่ง
    – วัน เวลา และสถานที่ปล่อยตัว และผู้มารับตัวผู้ถูกควบคุมตัว
    – ข้อมูลสภาพร่างกายและจิตใจก่อนถูกควบคุมตัว และก่อนปล่อยตัว กรณีตายระหว่างถูกควบคุมตัว ต้องระบุสาเหตุการตายและสถานที่เก็บศพ
    – ข้อมูลอื่นๆ ที่คณะกรรมการป้องกันปละปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายกำหนด 

ความผิดฐานกระทำทรมาน : โทษจำคุก 5 – 15 ปี และปรับ 100,000 – 300,000 บาท “ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ” กระทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์….
– ให้ได้ข้อมูลหรือคำรับสารภาพจากผู้ถูกกระทำหรือบุคคลที่สาม
– ลงโทษผู้ถูกกระทำเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทำหรือสงสัยว่ากระทำของผู้นั้นหรือบุคคลที่สาม
– ข่มขู่หรือขู่เข็ญผู้ถูกกระทำหรือบุคคลที่สาม
– เลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใด

** ถ้าผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส : รับโทษจำคุก 10 – 25 ปี และปรับ 200,000 – 500,000 บาท
** ถ้าผู้ถูกกระทำถึงแกความตาย : รับโทษจำคุก 15 – 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 300,000 – 1,000,000 บาท

ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ : รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ” ลงโทษหรือกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกลดทอนคุณค่าหรือละเมิดสิทธิ
ขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ หรือเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานแก่ร่างกายหรือจิตใจ แต่ไม่รวมถึงอันตรายเป็นผลปกติหรือสืบเนื่องจากการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย

ความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย : รับโทษจำคุก 5 – 15 ปี และปรับ 100,000 – 300,000 บาท “ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ” ความคุมตัว หรือลักพาตัว โดยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำ หรือปกปิดชะตากรรมหรือสถานที่ปรากฏตัวของบุคคลนั้นที่ส่งผลให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และการกระทำนั้นให้ถือว่าเป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะทราบชะตากรรมของบุคคลนั้น
** ถ้าผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส : รับโทษจำคุก 10 – 25 ปี และปรับ 200,000 – 500,000 บาท
** ถ้าผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย : รับโทษจำคุก 15 – 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 300,000 – 1,000,000 บาท

ข้อยกเว้น ความผิดฐานกระทำทรมานและความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย ไม่ถือว่าเป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และตามกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องทางอาญา

ในกรณีความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย เจ้าหน้าที่ต้องสืบสวนจนกว่าจะพบ บุคคลที่ถูกกระทำให้สูญหายหรือหลักฐานที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้น ถึงแก่ความตายและทราบรายละเอียดการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

ประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจ

ห้ามอ้างพฤติการณ์พิเศษในภาวะสงครามหรือภัยคุกคามที่จะเกิดสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศหรือสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะอื่นใด เพื่อให้การกระทำความผิดเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

ห้ามหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดน หากมีเหตุสมควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมานถูกกระทำโหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทำให้สูญหาย

ที่มา : พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565