ค้นหา

วิกฤตสิทธิแรงงานในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล : ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง “ไรเดอร์” กับแพลตฟอร์มที่รัฐเพิกเฉย

โดย ภาสกร ญี่นาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดการกับปัญหาที่มีต้นตอมาจากกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านขนส่งในแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ไรเดอร์” ผู้ต้องเผชิญหน้ากับชีวิตที่ไร้หลักประกัน การด้อยสิทธิแรงงานหลายด้าน และไร้อำนาจต่อรอง ทั้ง ๆ ที่ สภาพการทำงานอยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตรายตลอดเวลา 

Eco-friendly food packaging delivery concept remix


แนวทางคุ้มครองการทำงานของ “ไรเดอร์” แบบเป็นธรรม (Fair Work)

  1. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Fair Pay) ที่จะกำหนดให้ใครก็ตามที่เป็น “คนทำงาน” ไม่ว่าจะอยู่ในสัญญาประเภทใดก็ตาม ควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเป็นธรรม คำนวณจากต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน รวมถึงเวลาชั่วโมงการทำงาน
  2. สภาพการทำงานที่เป็นธรรม (Fair Conditions) กำหนดหน้าที่ให้กับแพลตฟอร์มต้องมีนโยบายและจัดให้มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนทำงานจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน เพื่อปกป้องส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย
  3. สัญญาที่เป็นธรรม (Fair Contracts) โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่มาจากต่างประเทศจะต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมาย และสามารถระบุตัวตนได้ว่าเป็นใคร หากมีกรณีเปลี่ยนแปลงข้อสัญญา คนทำงานควรได้รับการแจ้งเตือนภายในช่วงเวลาที่เหมาะสมก่อนที่ข้อสัญญาใหม่จะมีผลบังคับ ในสัญญาจะต้องไม่มีข้อกำหนดที่ยกเว้นความรับผิดแก่แพลตฟอร์มเกี่ยวกับหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนทำงาน และต้องไม่มีข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการปิดกั้น ไม่เปิดโอกาสให้คนทำงานมีสิทธิร้องเรียนความไม่เป็นธรรมได้
  4. การบริหารจัดการที่เป็นธรรม (Fair management) กำหนดให้บริษัทแพลตฟอร์มต้องมีกระบวนการอันชอบธรรม (due process) เกี่ยวกับการตัดสิน หรือมีบทลงโทษทางวินัยคนทำงานในแพลตฟอร์มของตนเอง และต้องเปิดโอกาสให้คนทำงานคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์คำตัดสินหากว่าคำตัดสินจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของคู่กรณี เช่น ลงโทษทางวินัย หักค่าตอบแทน ปิดแอปพลิเคชัน ต้องชี้แจงเหตุผลในการตัดสินลงโทษในทุก ๆ ครั้ง
  5. ระบบตัวแทนที่เป็นธรรม (Fair Representation) หรือการเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มและกระบวนการเจรจาต่อรองเรื่องเกี่ยวกับสภาพการท างานระหว่างแพลตฟอร์มและคนท างานในสังกัด กล่าวคือ แพลตฟอร์มควรจัดให้มีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้เสียงของคนท างานได้เปล่งออกมาไม่ว่ารูปแบบสัญญาการจ้างงานจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม คนทำงานทุกคนล้วนมีสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรและตัวแทนซึ่งแพลตฟอร์มจะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอในการประสานงานร่วมกันกับคนทำงาน รับฟังปัญหาและมีกระบวนการเจรจาต่อรองกับคนทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มค่าตอบแทน มอบสวัสดิการ มีหลักประกันหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่คนทำงานต้องเผชิญในการทำงาน เป็นต้น

หมายเหตุ : ผลจากการประชุมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มแรงงาน องค์กรทางการค้า นักวิชาการ 

การแก้ไขปัญหาอาจต้องไปให้ไกลกว่าการนำแรงงานกลับเข้าการเป็น “ลูกจ้าง” หรือ“แรงงานในระบบ” 
อาจต้องมุ่งไปที่การ “สร้างสภาวะการทำงานที่เป็นธรรม” และ “ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย” 
โดยเฉพาะคนทำงานที่ยังอาจหวังเอาความเป็นอิสระ มากกว่าการเป็นลูกจ้าง เพียงแต่ต้องอยู่บนฐานของความเป็นธรรมทั้งด้านการทำงาน และการใช้ชีวิตไปพร้อมกัน