ค้นหา

EP.14 ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่?

Podcast ที่จะชวนทุกคนมาหูผึ่ง เพราะเรื่องกฎหมาย ไม่รู้ไม่ได้…

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความหมายของคดีแพ่งกับคดีอาญา ให้เข้าใจก่อนว่าแต่ละคดีมี ความหมาย และแตกต่างกันอย่างไร?

#คดีแพ่ง เป็นคดีที่เสนอคําฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิ ของบุคคลในทางแพ่ง หรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิหรือหน้าที่ เป็นคดีที่ไม่มีผลให้บุคคลที่ถูกฟ้องต้อง รับโทษทางอาญาอย่างคดีอาญา คดีแพ่งเป็นคดีที่ศาลมีคําพิพากษาบังคับให้บุคคลกระทําตาม หน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายแพ่ง จึงมุ่งที่สิทธิของโจทก์หรือตัวโจทก์อันเป็นเรื่องของเอกชน ตัวอย่างของคดีแพ่ง เช่น คดีร้องเป็นผู้จัดการมรดก คดีสัญญาซื้อขายที่ดิน คดีผิดสัญญา คดี เช่าซื้อรถ คดีฟ้องหย่า คดีละเมิด เป็นต้น

#คดีอาญา เป็นคดีที่ศาลมีคําพิพากษาลงโทษบุคคลที่ไม่งดเว้นกระทําตามหน้าที่ที่มี กฎหมายอาญาบัญญัติห้ามมิให้กระทํา ผู้ฟ้องคดีคือโจทก์ไม่ได้ร้องขอบังคับตามสิทธิของตน แต่เป็นการกล่าวหาว่าจําเลยกระทําความผิดขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลย ไม่ได้บังคับให้ จําเลยกระทําการอันใด จึงมุ่งที่ความผิดที่จําเลยกระทําอันเป็นเรื่องของมหาชน ตัวอย่างของ คดีอาญาเช่น ความผิดฉ้อโกง ความผิดลักทรัพย์ ความผิดฆ่าผู้อื่น ความผิดประมาท คดีทําร้าย ร่างกาย เป็นต้น

การฟ้องคดีแพ่งจะต้องให้ทนายความเป็นผู้ยื่นฟ้องคดีต่อศาล แต่คดีอาญาสามารถ ฟ้องได้ 2 วิธีคือ

  • แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนที่สถานีตํารวจ
  • ว่าจ้างทนายความให้ทําเรื่องฟ้องร้องคดีเอง

หากว่าตามกฎหมายแล้วการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพัน บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืม เป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การกู้ยืมเงินเป็นบทบังคับให้บุคคลกระทําตามหน้าที่ที่มีอยู่ตาม กฎหมายแพ่ง หน้าที่นั้นคือ การชําระหนี้ของลูกหนี้ หากลูกหนี้ไม่ชําระจึงต้องฟ้องคดีเป็น คดีแพ่ง การไปแจ้งความตํารวจเพื่อให้ดําเนินคดีเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจึงไม่สามารถทําได้และตํารวจไม่มีอํานาจไปฟ้องคดีแพ่งแทนผู้เสียหายได้เช่นกัน

อ้างอิง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653