การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ของศาลยุติธรรมในยุค New Normal ศาลยุติธรรม ได้มีพิจารณาทบทวนและพยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน มุ่งเน้น “การให้บริการ” โดยอยู่บนพื้นฐานกระบวนการยุติธรรมที่พึ่งประสงค์ และความคาดหวังของประชาชน ประกอบด้วย 3 ประการที่สำคัญ คือ
(1) ความถูกต้อง (2) ความเป็นธรรม และ (3) ความรวดเร็ว โดยนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาพัฒนาและปรับใช้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น เพื่อให้ “ศาลยุติธรรม เป็นที่พึ่งแรกของประชาชน”
เป็นเวลาหลายๆปีมาแล้วที่เราอยู่ในกระบวนการยุติธรรมด้วยกัน เราจะเห็นภาพของคนทำงานในกระบวนการยุติธรรม ที่มีการแบ่งสัดส่วน แบ่งหน้าที่ กันไปอย่างชัดเจน อย่างที่เราเคยพูดกันว่ามี ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำ ในส่วนของศาลยุติธรรมจะอยู่ที่ตรงปลายน้ำ มีที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินคดีเพราะฉะนั้นคนที่อยู่ตรงท้ายสุด จะถูกพูดถึงอยู่ไปบ่อยๆ “ส่งคนเข้าไปในเรือนจำ” หรือ “คนจนอยู่ในคุก” เหล่านี้เป็นต้น
ในสภาพสังคมในช่วงหลังๆ เราจะเห็นได้ว่าคนเข้ามาให้ความสำคัญกับกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น เพราะต่างก็ตระหนักดีอยู่แล้วว่ากระบวนการยุติธรรมที่ดี ที่พึงประสงค์ ไม่ได้ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมหรือสร้างความสงบสุขในสังคมได้อย่างเดียว แต่กระบวนการยุติธรรมที่ดี ที่เชื่อมั่นได้ ที่พึ่งพาได้ ยังจะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และที่สำคัญจะสร้างความมั่นคงของประเทศชาติได้ด้วย
แม้เราจะยังเจอสถานการณ์ของโรคโควิต 19 ซึ่งก็นับว่าอย่างยังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆแล้วก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจากลากันไปเสียที แต่การทำงานของทุกหน่วยงานที่อยู่ในกระบวนการไม่สามารถหยุดได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเดือดร้อน ข้อพิพาทของคนทั้งสิ้น
ในภาพรวมของศาลยุติธรรมในอดีต ถ้าท่านทำงานใกล้ชิดกับศาลหรือเกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ภาพของศาลในความคิดคำนึงของหลายๆท่าน หรือในความเข้าใจของประชาชนที่มองจากข้างนอกเข้ามา จะมองว่าเป็นองค์กรที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม มีขนบธรรมเนียม มีวิธีปฏิบัติ มีพิธีรีตอง มีความซับซ้อนของการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ เป็นองค์กรที่ถามก็ไม่ตอบ นั่งนิ่งและสั่งอย่างเดียว ตามแต่ประสบการณ์ที่ท่านที่เข้ามาสัมผัส นั่นคือภาพในอดีตมันเป็นภาพในอดีต
ในปัจจุบันศาลยุติธรรมมีความพยายามที่จะเข้ามาใกล้ชิดกับประชาชน เข้ามารับฟัง เปิดรับการตรวจสอบ และแสดงความโปร่งใสมากขึ้น วิธีคิดของผู้พิพากษาในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก แต่ก่อนเวลาพูดถึงศาลเราจะบอกว่า…ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี ประชาชนหรือคนทั่วไปได้ยินคำว่า “อำนาจ” แล้วก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องของ “การสั่ง” เป็นเรื่องของ “การใช้อำนาจ” แต่ในมุมของศาลเองเรามองว่าการทำงานของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี “ไม่ใช่การใช้อำนาจหน้าที่” แม้จะเป็นถ้อยคำมาจากรัฐธรรมนูญ พระธรรมนูญศาล หรือตัวบทกฎหมาย แต่คำว่า “อำนาจ” อาจจะทำให้คนมองศาลผิดไปจากสิ่งที่เราควรจะปฏิบัติต่อประชาชน มุมมองของศาลจึงมองว่าการทำงานของศาลเนี่ยเป็นเรื่องของ “การให้บริการ” เพราะเรามีวิธีคิดเปลี่ยนไปว่าเป็นการ “การให้บริการ” แนวคิดมันจะเปิดกว้างขึ้น เพราะต้องคำนึงถึง ความพึงพอใจ ความคาดหวัง การทำงานอย่างมีความสุข และขอให้คนที่มาติดต่อเรามีความสุข
ในระยะหลังจะเห็นภาพของศาลยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ศาล หรือผู้พิพากษาระดับสูง ออกไปทำงานในเชิงรุกมากขึ้น มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชนในหลายรูปแบบ ผ่านสื่อต่างๆ มีเพจที่คนข้างนอกติดตามได้ เป็นกิจกรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี การสืบพยานออนไลน์ การทำประกัน การทำประเมินความเสี่ยงต่างๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การที่ศาลออกไปหาประชาชน ให้ความรู้กฎหมาย เราพบว่า “มีคนจำนวนมากในประเทศนี้ ที่ยังไม่รู้สิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของตนเองเลยโดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม” ไม่ทราบว่าเมื่อถูกรังแก ถูกทำร้าย ถูกกระทบกระเทือน ถูกละเมิดต่อกฎหมาย เขาจะวิ่งไปที่ไหน? จะทำอย่างไร ต้องมีค่าใช้จ่ายอย่างไร มีนโยบายรัฐที่เข้ามาดูแลโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่? ศาลจะมีบทบาทอย่างนี้กับเขาได้อย่างไรบ้าง?
นโยบายประธานศาลฎีกา ปี 2563 – 2564 ซึ่งอยู่ภายใต้หลักการของความบริสุทธิ์ยุติธรรมนั้นจะมีนโยบายอยู่ 5 ด้าน ที่ความสำคัญกับประชาชน คือเรื่องของ “ความเสมอภาค” และ “ความสมดุล”
“ความเสมอภาค” คือ การที่จะทำให้คนที่เข้ามาติดต่อศาล มีความเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ และกระจายความยุติธรรมออกไป คำนึงถึงกลุ่มคนที่อยู่ในชนบทห่างไกล จึงมีการเปิดศาลไปในพื้นที่ห่างไกล ทั้งศาลแขวง ศาลจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเข้ามาใช้บริการทางการศาล ทำให้คดีต่างๆสามารถแล้วเสร็จไปในเวลาอันรวดเร็ว นำมาซึ่งการลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย ลดการเสียเวลา แต่ผลที่ได้เท่าเทียมกัน
สิ่งที่ประชาชนอยากได้ 3 ประการ 1.ความถูกต้อง 2.ความเป็นธรรม 3.ความรวดเร็ว
บุคคลที่เข้ามาทำงานในศาล เราเชื่อว่า…เราได้คนที่มีมีความเก่งในเรื่องกฎหมาย แต่แค่นั้นไม่พอที่จะใช้ในการทำงาน ต้องมีการพัฒนา มีการสร้างจิตสำนึกของความการทำงาน ในส่วนที่เป็นการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
รับชมวิดีโอการสัมนาฉบับเต็มได้ที่นี่