การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีทางแพ่งและทางอาญา เพื่อลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน ด้วยความยินยอมระหว่างคู่กรณี โดยยึดหลักความยินยอม สมัครใจของคู่พิพาทเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ลดงบประมาณแผ่นดินในกระบวนการยุติธรรม
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวน ให้กระทำได้ในความผิด ดังนี้
(1) คดีความผิดต่อส่วนตัว หรือความผิดที่ยอมความได้
(2) ความผิดลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา ดังนี้
- มาตรา 390 (กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ)
- มาตรา 391 ( (ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ)
- มาตรา 392 (ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว ตกใจ โดยการขู่เข็ญ)
- มาตรา 393 (ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา)
- มาตรา 394 (ไล่ ต้อน ทำให้สัตว์ใด ๆ เข้าในสวน ไร่ นาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินเพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลิตผลอยู่)
- มาตรา 395 (ปล่อยปละละเลยให้สัตว์ที่ควบคุมอยู่ เข้าไปในสวน ไร่ นาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์อยู่)
- มาตรา 397 (กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นในที่สาธารณะหรือต่อหน้าธารกำนัล)
- ความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(3) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ในมาตรา ดังนี้
- ฐานเข้าร่วมในการชุมมุนต่อสู้และมีผู้ถึงแก่ความตายจากการชุมมุนต่อสู้นั้น (มาตรา 294 วรรคหนึ่ง)
- ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น (มาตรา 295) – ฐานทำร้ายร่างกายโดยมีเหตุฉกรรจ์ (มาตรา 295)
- ฐานเข้าร่วมในการชุมมุนต่อสู้และมีผู้ได้รับอันตรายสาหัสจากการชุมมุนต่อสู้นั้น (มาตรา 399 วรรคหนึ่ง)
- ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส (มาตรา 300)
- ฐานลักทรัพย์ (มาตรา 334)
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา เมื่อคู่กรณีทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้วให้ถือว่าสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ข้อพิพาททางอาญาที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือการดำเนินคดีในชั้นศาล ก็สามารถที่จะดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อกันได้