ค้นหา

JSOC กลไกการดูแลผู้พ้นโทษอย่างสร้างสรรค์

โดย พ.ต.ท. มนตรี บุญยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ ผู้อำนวยการ ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน (Safety Observation Ad hoc Center, Ministry of Justice)

เราจะเฝ้าระวังผู้ที่เคยก่อเหตุ คดีอุกฉกรรจ์อย่างไร?

นักโทษเด็ดขาดใน 7 ฐานความผิด ก่อนวันพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัวไป เช่น เหลือระยะเวลาอีกหนึ่ง 1 ปี หรือ 6 เดือน จะพ้นโทษ เป็นต้น

“ ทำการพักการลงโทษ โดยการติด EM และมีมาตรการ ในการติดตามดูแล แก้ไข เพื่อให้ผู้ที่จะพ้นโทษ สามารถยืนอยู่ใน สังคมได้อย่างแท้จริง มีอาชีพท่ีสุจริตหาเลี้ยงชีพได้ และที่สาคัญ มีการจัดทำฐานขอมูลต่างๆไว้ ” เพื่อสร้างความมั่นใจ ความเช่ือม่ัน และสร้างความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนอย่างแท้จริง

ศูนย์ JSOC ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน (Safety Observation Ad hoc Center, Ministry of Justice) หรือเรียกสั้นๆ นวัตกรรมใหม่ เพ่ือสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

กลุ่มผู้พ้นโทษ ที่เคยก่อคดีอุกฉกรรจ์ ใน 7 ฐานความผิด

  1. ฆ่าเด็กหรือข่มขืนเด็ก (child murder or child rape and homicide)
  2. ฆ่าข่มขืน (Rape – murders crimes)
  3. ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Murders)
  4. ฆาตกรโรคจิต (Crimes committed by a Sociopath or a Psychopath)
  5. สังหารหมู่ (Mass Murders)
  6. ชิงทรัพย์/ปล้นทรัพย์โดยการฆ่า (Robbery-Homicide Crimes)
  7. นักค้ายาเสพติดรายสาคัญ (Major drug dealers)

การดำเนินการของศูนย์ JSOC : การติดตามเฝ้าระวังบุคคลที่พ้นโทษไปแล้ว

  • ในเขตกรุงเทพมหานคร ประสานงานสานักงานคุมประพฤติ ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อประสานงานเจ้าหน้าท่ีตารวจเฝ้าระวังเชิง สร้างสรรค์อย่างใกล้ชิด
  • ในเขตจังหวัดต่างๆ ประสานงาน กพยจ.จังหวัดเพื่อ ประสานงานเจ้าหน้าท่ีตารวจ และฝ่ายปกครอง เฝ้าระวังเชิงสร้างสรรค์อย่าง ใกล้ชิด