ค้นหา

นวัตกรรมยุติธรรม “การเฝ้าระวังผู้กระทำผิดกลุ่มเฉพาะ”

JSOC : ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน Ep.6

“การเฝ้าระวังผู้กระทำผิดกลุ่มเฉพาะ” ถือว่าเป็น “นวัตกรรมยุติธรรม” ที่น่าสนใจ โดย รศ. ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“การเฝ้าระวังผู้กระทำผิดกลุ่มเฉพาะ” ถือว่าเป็น “นวัตกรรมยุติธรรม”

ในส่วนของประเทศไทย การนำนวัตกรรมนี้มารวมกับสื่อเทคโนโลยีต่างๆ และจัดให้มีระบบขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ ซึ่งเทียบเคียงได้กับ “ทฤษฎีกิจวัตรประจำวัน” ในทางอาชญาวิทยา ซึ่งทางตำรวจจะเรียกว่า “ทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม”

กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ที่มีความสามารถในการกระทำผิด หรือ อาชญากร นั่นเอง ในที่นี้ คือ อาชญากรทางเพศ หรือ พวกกลุ่มที่ Hardcore ทั้งหลาย

กลุ่มที่ 2 คือ เหยื่ออาชญากรรม ซึ่งมีคุณลักษณะเป็น Target ที่เขาอยากจะประกอบอาชญากรรมด้วย อาจจะเป็น เด็ก หรือ ผู้หญิง หรือมีความเฉพาะบางอย่าง

กลุ่มที่ 3 คือ ผู้ดูแล หากผู้ดูแลอ่อนแอ จะทำให้กลุ่มที่ 1 หรือ อาชญากร สามารถมาทำอะไรต่อเหยื่อได้ง่ายขึ้น

Guardian ตั้งแต่มาตรการกลไก นโยบายอาญา กฎหมายต่างๆ ที่มี , ซอฟต์แวร์การป้องกันอาชญากรรม อาจจะเป็น Application Alert เตือนภัย, กล้องวงจรปิด รวมถึงกลุ่มคน ได้แก่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ อยู่ในออฟฟิศ ก็อาจจะได้แก่ ยาม และคนอื่นๆ ที่อยู่รอบข้าง เราอยากจะทำให้กลุ่มผู้กระทำผิดไร้ความสามารถ ถ้าเราปล่อยมาแล้ว เขาต้องไร้ความสามารถ หรือ ถูกจํากัดความสามารถที่จะกระทำผิด Guardian จึงมีส่วนสำคัญที่จะเข้าไปจัดการ นั่นคือ…ไม่ว่าจะจัดการด้วยการที่ แก้กฎหมาย เพื่อให้มีพื้นที่…ให้เขาถูกจำกัดการเดินทาง โดยใช้ EM หรือถูกจำกัดอาชีพ เช่น ในบางอาชีพ ครู เป็นอันตรายต่อเด็ก ห้ามประกอบอาชีพนี้อีก

รวมไปจนถึง เมื่อปล่อยเขาออกมาแล้ว…สามารถใช้ได้ตั้งแต่ “ฉีดสารเคมี” เพื่อลดความต้องการทางเพศ สิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นข้อถกเถียงประโยชน์ของสาธารณะ กับ การที่ต้องเสียประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งถ้าแลกเปลี่ยนกับการไม่ต้องติดคุกระยะยาว ก็ต้องดูว่าแบบนี้จะสมน้ำสมเนื้อไหม? ส่วนกลุ่มเหยื่อก็ควรมีสิทธิ์ที่จะบอกได้ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะต้องระวังตัวเองยังไง? หรือคนอื่นมาช่วยเขาเฝ้าระวังยังไง?

ในต่างประเทศ พัฒนามาเขาเรียกว่า Sonar คือ เป็นตัวกฎหมาย เรียกว่า “มาตรการเฝ้าระวังผู้กระทำผิดทางเพศ” แจ้งเตือนต่อสาธารณะจะแจ้งเตือนเป็นการทั่วไป หรือ แจ้งเตือนเฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันใน เรื่องของกระบวนการยุติธรรม ที่กระทรวงยุติธรรมกำลังจัดการอยู่ ของ JSOC ในครั้งนี้ ก็มีความเห็นว่า 7 กลุ่มเนี่ยน่าสนใจทั้งสิ้น เพียงแต่เห็นว่า กลุ่มที่ 7 ซึ่งเป็นกลุ่มของ “ผู้ค้ายาเสพติด” อาจจะไม่สามารถใช้วิธีอยู่ในกลุ่มนี้ ที่เราจะใช้ได้ เช่น การคุมประพฤติใส่ EM เนี่ย ถ้าเขาเป็นนักค้ายาเสพติด เขาก็สามารถสั่งได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้วิธีอื่น เช่น เรื่องของการเงิน หรือ เรื่องของการสื่อสาร ถ้าจำกัดแค่เฉพาะพื้นที่เดินทาง ไม่น่าจะมีประโยชน์

กลุ่มที่ลึกเข้าไปในกลุ่ม 6 กลุ่มเนี่ย ปกติในต่างประเทศเขาจะใช้ว่า “อาชญากรทางเพศ” หรือ “ผู้กระทำผิดทางเพศ” แต่ถ้าเราไปใช้ฐานความผิด พอเราไปใช้ฐานความผิด ปัญหา คือ ฐานความผิดฐาน ปล้น ฆ่า ซึ่งเรามองว่าร้ายแรง แต่ตรงนี้เราจะเห็นว่า ปล้น ฆ่า ไม่ใช่อาชญากรทางเพศ (Rehabilitation) เช่น ความผิดทางเพศ หรือ ผู้กระทำผิดทางเพศ มันจะตรงกลุ่มมากกว่า ซึ่งอาจจะเป็น Phase ต่อๆไป ก็ได้

การกระทำผิดทางเพศ ก็ยังมีเรื่องเฝ้าระวังอีกว่า…แต่กลุ่มนั้นเป็นพวก Incest case เช่น พ่อข่มขืนลูก การข่มขืนคนในครอบครัว ปัญหาคือ ถ้าเราต้องปล่อยออกมา เขาต้องกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งเจอลูกที่เขาข่มขืน ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ต้องคิดต่อว่า จะมีพื้นที่เหมาะสมให้้เค้าอยู่อย่างไร คลี่ฐานเหล่านี้ให้ชัดว่า กลุ่มไหนพอไปได้ หรือ กลุ่มไหนที่มีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง นำไปสู่การออกแบบกฎหมาย ที่มีการแพทย์เข้ามาช่วย รวมไปถึงการจัดการภายหลัง รวมทั้ง Platform ที่จะรองรับ นั่นคือ “ชุมชน” ก็ต้องนำแนวคิด “ยุติธรรมชุมชน” เข้ามาให้สอดส่องดูแล เพราะว่าเราไม่สามารถดึงคนเหล่านี้มาอยู่กับ JSOC อย่างเดียว เราต้องกระจายให้เขามีหูมีตามากขึ้น หากพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้ มันก็จะก้าวกระโดดอีกส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ที่จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ใช้กับกลุ่มเฉพาะ ทำให้สังคมรู้สึกปลอดภัยไปพร้อมๆกัน