ส.ป.ก.? คืออะไร เคยได้ยินผ่านๆ ซื้อได้มั๊ย? ขายได้หรือเปล่า? ใครมีสิทธิ์ได้รับ? ปลูกบ้านได้มั๊ย? แล้วเลี้ยงสัตว์ล่ะ?
คำถามมากมายเกี่ยวกับ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือที่เรียกกันย่อๆว่า ส.ป.ก.
วันนี้พวกเราสำนักงานกิจการยุติธรรมจะมาไขปัญหาและตอบคำถามคาใจของทุกคนเอง
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) คือ ?
การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยรัฐทำการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่กินของตนเองหรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันการเกษตร
หนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก.4-28) คือ ?
เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับมอบที่ดินและได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-10) คือ ?
เป็นหลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน
ใครมีสิทธิได้ที่ดิน ส.ป.ก บ้าง. ?
- เกษตรกร
- สถาบันเกษตรกร
- ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- ผู้ที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่สงวนของรัฐ
- ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของทางราชการที่สูญเสียที่ดิน
อยากจะขอรับการจัดสรรที่ดินต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนได้
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- กรณีนิติบุคคลให้ยื่นหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล
- แผนและโครงการประกอบคำขอรับอนุญาต
มีที่ดิน ส.ป.ก. แล้วทำยังไงต่อ?
- ผู้ครอบครองที่ดินต้องเป็นเกษตรกร และที่ดิน ส.ป.ก.นี้ห้ามขายให้ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นมรดกตกทอดให้ทายาท
- จะต้องใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรเท่านั้น
- ไม่ขุดบ่อน้ำเกินร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด และไม่ปลูกสิ่งก่อสร้างใดๆนอกเหนือจากยุ้งฉาง ที่อยู่อาศัย
- ดูแลรักษาหมุดหลักเขตไม่ให้ชำรุดเสียหาย
- ไม่สร้างความเสียหายต่อการทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรอื่น
- ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
- ปฏิบัติตามข้อสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก.
สิทธิ์จะหมดไปเมื่อ….
- ตาย หรือสละสิทธิ์
- โอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ การเช่าให้ผู้อื่น
- ขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้
- ฝ่าฝืนข้องบังคับเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์
ข้อมูลจาก พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532