การครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินของผู้อื่น หรือ ที่ดินมีโฉนดถูกแย่ง “กรรมสิทธิ์” หรือ ถูกฟ้องศาลแย่ง “กรรมสิทธิ์” ที่ดิน โดยอ้างครอบครองปรปักษ์ ทำได้ไหม?
.
กฎหมายน่ารู้ 83 : มี “กรรมสิทธิ์” อย่าคิดชะล่าใจ คนอื่นทำอย่างไร? ได้ครอบครองปรปักษ์
.
การครอบครองปรปักษ์ บางคนยังไม่เคยฟังมาก่อน หรืออาจจะเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ก็ไม่เคยสนใจ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับตน แต่บางคนได้เจอมากับตัวพร้อมๆ กับต้องเสียที่ดินไปแล้วเพราะคำๆ นี้
.
การครอบครองปรปักษ์ เป็นเรื่องปวดหัว เพราะเจ้าของที่ดินที่มีบุคคลอื่นเข้าไปแย่งการครอบครองจนครบ 10 ปีแล้ว ก็จะได้ “กรรมสิทธิ์” โดยการครอบครองปรปักษ์ทันที
.
ฝ่ายที่ได้ “กรรมสิทธิ์” ต้องยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งรับรองและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย ฝ่ายที่จะเสียสิทธิ์ก็ต้องว่าจ้างทนายความต่อสู้คดีเพื่อมิให้เสียสิทธิ์ของตน
.
เรื่องการครอบครองปรปักษ์ทรัพย์ของผู้อื่นแล้วได้ไปซึ่ง “กรรมสิทธิ์” นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์”
.
ดังนั้น เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ดินทุกแห่งหากเอาไปทำการเกษตรย่อมผลิดอกออกผลได้อย่างแน่นอน จึงลงโทษเจ้าของที่ไม่ใส่ใจในที่ดินของตนเองโดยการที่ หากมีคนอื่นมาครองครองที่ดินดังกล่าวเป็นระยะเวลารวม 10 ปี แล้ว คนที่ครอบครองนั้นก็จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปทันทีตามกฎหมาย แม้ว่าชื่อในโฉนดจะยังเป็นของเจ้าของเดิมก็ตาม ผู้ครอบครองก็มีสิทธิจะไปร้องขอกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นต่อศาลได้
อ้างอิง :
1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. ขอขอบคุณ www.lawyers.in.th/2019/03/21/possession-law-deatail/