การอนุญาตผู้ต้องหาหรือจำเลยพ้นจากการถูกควบคุมของเจ้าหน้าที่หรือศาลตามตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานาน เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมก็ควรได้รับการปล่อยชั่วคราวออกไป ผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถ “ขอประกันตัว” ได้ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและระหว่างการพิจารณาคดีของศาลโดยมีหลักเกณฑ์ของเจ้าพนักงานสอบสวนและศาลที่ใช้พิจารณาเพื่อ “ขอประกันตัว”
ใครมีสิทธิยื่น “ขอประกันตัว” ได้บ้าง?
- พ่อแม่ ลูก คู่สมรส ญาติ นายจ้างฯ
- ผู้ต่องหาหรือจำเลย
ใครมีสิทธิคัดค้านการให้ ประกันตัว ได้?
- พยาน
- ผู้เสียหาย
- พนักงานสอบสวน
- อัยการ
หลักประกันที่ใช้ ประกันตัว
- เงินสด,สมุดเงินฝาก
- โฉนดที่ดิน น.ส.3ก. /น.ส.3 ,พันธบัตรรัฐบาล,สลากออมสิน
- กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ
- ตำแหน่ง/วิชาชีพ
- หน่วยงานราชการ(ข้าราชการ,ลูกจ้าง)
เจ้าพนักงานสอบสวนใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาคำร้อง “ขอประกันตัว” แล้วศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการวินิจฉัยคำร้อง “ขอประกันตัว” บ้าง?
- ความหนักเบาตามข้อหาของคดี
- พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอต่อการดำเนินคดีหรือไม่
- พฤติการณ์ของคดี
- ความน่าเชื่อถือผู้ “ขอประกันตัว”
- ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่
- อันตราย/ความเสียหายที่เกิดหลังประกันตัว
- คำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทย์หรือผู้เสียหาย (เฉพาะในชั้นศาล)
- ความเห็น/คำสั่ง ผู้อำนวยการสถานพินิจฯเด็ก(เฉพาะในชั้นศาล)
กรณีที่ศาลจะสั่งไม่อนุญาตให้ ประกันตัว เพราะเหตุใดบ้าง
- ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
- ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน
- ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
- ผู้ร้อง “ขอประกันตัว” หรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
- การอนุญาตให้ประกันจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสืบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาลมี
กรณีที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้ ประกันตัว ผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยไม่มีผู้ “ขอประกันตัว” ได้หรือไม่
กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัวและศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวตามที่ศาลเห็นสมควร โดยไม่ต้องมีผู้ “ขอประกันตัว”
ที่มา : ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา