การเล่นแชร์เป็นอีกหนึ่งทางที่ผู้คนเลือกเพื่อใช้หมุนเงิน แต่การเปียแชร์ เล่นแบบไหน ไม่เสี่ยงทั้งโดนโกง ทั้งผิดกฎหมายด้วย เล่นแชร์ คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวดๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไป โดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดในกฎกระทรวงด้วย
เล่นแชร์ต้องห้าม… และเล่นแชร์ต้องเช็ค…
- ห้ามนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับตั้งแต่ 1 เท่าหรือ 3 เท่าของกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งหยุดดำเนินการทันที
- ห้ามโฆษณาหรือประกาศชี้ชวน ให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- ตั้งวงแชร์ได้ แต่ห้าม…
– ห้ามตั้งวงแชร์รวมกันเกิน 3 วง
– ห้ามมีสมาชิกทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
– ห้ามมีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันเกิน 300,000 บาท
– ห้ามท้าวแชร์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากเงินกองกลางการเล่นแชร์เท่านั้น ฝ่าฝืน : – จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– การเล่นแชร์จะตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตั้งแต่ต้น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150)
– ท้าวแชร์จะฟ้องเรียกลูกแชร์ให้ชำระค่าแชร์ที่ยังไม่ชำระไม่ได้ - เช็คข้อมูลของท้าวแชร์ และ สมาชิกร่วมวงแชร์ ก่อนเล่น เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อาชีพ ฐานะทางการเงิน บัญชีธนาคาร อาชีพ ฐานะทางการเงิน
- ท้าวแชร์หนีหรือโกง
– มีเจตนาทำวงแชร์ และสมัครใจแล่นแชร์กัน แต่บริหารผิดพลาด : สมาชิกวงแชร์ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนได้
– ไม่มีเจตนาทำวงแชร์ และหลอกลวงตั้งใจเชิดเงินหนี : สมาชิกวงแชร์แจ้งความดำเนินคดีอาญาฐาน “ฉ้อโกง”
เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม เมื่อถูกท้าวแชร์โกง
– หน้า Facebook , Page , Line ของท้าวแชร์ และคำเชิญชวนที่โพสต์ในออนไลน์
– ข้อมูลของท้าวแชร์ เช่น บัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เบอร์โทรติดต่อ ที่อยู่
– สเตทเมนต์พร้อมไฮไลท์ยอดที่โอนให้ท้าวแชร์ ให้ตรงกับสลิปที่โอนเงินให้
– แยกยอดเงินระหว่างเงินส่งแชร์ และเงินที่ได้ดอกในวงแชร์ให้ชัดเจน - ลูกแชร์เปียแชร์แล้วหนี
– วงแชร์ : ต้องดำเนินการให้มีการเล่นแชร์ต่อไป
– ท้าวแชร์ : ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายแทน และฟ้องร้องคดีแพ่งไล่เบี้ยเงินจากลูกแชร์ที่หลบหนี หรือถ้าตั้งใจจะเชิดเงินตั้งแต่แรก ฟ้องร้องคดีอาญาฐาน “ยักยอกทรัพย์” (ตาม ป.อ. มาตรา 352)
โดนโกงแชร์แจ้งที่ไหน ?
- แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ที่สถานีตำรวจ
- ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ (การเล่นแชร์) สายด่วน 1359
- แจ้งความร้องทุกข์องที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (มูลค่าความเสียหายเกินกว่า 5 ล้านบาท)
อย่างไรก็ดี วิธีการที่เราแนะนำข้างต้นก็เป็นเพียงการลดความเสี่ยงเท่านั้น หากใครจะลงทุนกับการเล่นวงแชร์ก็ควรระมัดระวัง และศึกษาความเสี่ยงให้ดีก่อนเล่นเสมอ
อ้างอิง : พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534
