ค้นหา

หลังหย่า…เดินหน้าเพื่อลูก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังหย่า

*อำนาจปกครองลูก

1. พ่อแม่ตกลงเป็นหนังสือ

2. (ถ้าตกลงไม่ได้) ศาลชี้ขาดว่าใครมีอำนาจปกครอง 

*ผู้ใช้อำนาจปกครองลูกมีสิทธิ

  • กำหนดที่อยู่ของลูก
  • ทำโทษลูกตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
  • ให้ทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานะ/การดำรงชีพ
  • เรียกลูกคืนจากคนอื่นที่กักตัวลูกไว้โดยไม่ชอบกฎหมาย
  • จัดการทรัพย์สินของลูกด้วยความระมัดระวัง

*วิธีการพิจารณาของศาล 

(1) ศาลสอบถามข้อมูล

     – เด็ก (ถ้าพูดได้)

     – พ่อแม่ให้การกับนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์

     – พยานคนกลางยืนยันว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกลักษณะไหน เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย คนที่อยู่กับเด็กเป็นประจำ

 (2) ศาลพิจารณา  

ว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจปกครองโดย “ยึดประโยชน์และความสุขของเด็กเป็นหลัก”

– พ่อ 

– แม่ 

– บุคคลภายนอก

จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูลูก

  • พ่อและแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูลูก “เท่าๆกัน” แบบ “ลูกหนี้ร่วม” ยกเว้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  • กรณีฝ่ายหนึ่งออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว สามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายได้ ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู

จัดการทรัพย์สิน

(1) “แบ่งสินสมรส” ที่ได้มาระหว่างสมรส เท่าๆ กัน

     – ทั้งสองฝ่ายหย่าโดยความยินยอม : แบ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า

     – หย่าโดยคำพิพากษาของศาล : บังคับทรัพย์สินย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

(2) “แบ่งหนี้สิน” ที่เกิดขึ้นในระหว่างสมรสเท่าๆ กัน

(3) เมื่อคู่สมรสขายสินสมรส ดังนี้ 

      1. ขายเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว
      2. เจตนาขายทำให้คู่สมรสเสียหาย
      3. ขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส (กรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องได้รับความยินยอม)
      4. จงใจทำลายให้สูญหายไป
     และคู่สมรสอีกฝ่ายได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวน “ให้คู่สมรสฝ่ายที่ขายหรือจงใจทำลายสินสมรส ชดใช้สินสมรสที่ขาดไป” ดังนี้

     1. ชดใช้จาก “สินสมรสส่วนของตน” หรือ 

     2. ชดใช้จาก “สินส่วนตัว”

การใช้นามสกุล

ต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505มาตรา 13)

จดทะเบียนสมรสใหม่ 

     ได้ต้องหย่าแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน ยกเว้น

  • คลอดลูกแล้วภายใน 310 วันหลังหย่า
  • จดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเดิม
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
  • ได้รับอนุญาตจากศาลให้จดทะเบียนสมรส

ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1501 – 1535)