ช่วยจับคนร้าย ทำได้หรือไม่? หน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดเป็นของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
แต่ในบางครั้งที่เหตุการณ์คับขัน แถมไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ๆ คนธรรมดาจะทำอย่างไรดี ?
.
จะช่วยกันจับได้หรือไม่? หรืออย่างเคสที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อหลายเดือนก่อน ที่ลูกชายเสพยาคลั่งจนเป็นเหตุสลดฆาตรกรรมแม่ของตน
.
การที่ตำรวจยื่นกุญแจมือให้ชาวบ้านช่วยจับ(ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน) เป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่? แล้วประชาชนคนนั้นลงมือจับชายคลั่งเองได้หรือไม่?
.
ในสถานการณ์ไหน ที่คนธรรมดาแบบพวกเราจะสามารถช่วยจับกุมได้บ้าง?
.
“พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรม ศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ
.
เมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
.
กรณีที่ประชาชนทั่วไปสามารถช่วยจับกุมผู้กระทำผิดได้ มี 3 กรณี
1.เมื่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้องขอให้ช่วยจับ และ ต้องเป็นคดีที่ “มีหมายจับอยู่แล้ว” เท่านั้น
2.เมื่อประชาชนเป็นนายประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้หลบหนีประกัน หรือจะหลบหนีประกัน โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานให้จับกุมได้ทันท่วงที
3.เมื่อพบเห็นการกระทำผิดต่อหน้า เฉพาะความผิดประเภทที่กฎหมายระบุไว้ดังนี้
1.ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล
2.ขบถภายในพระราชอาณาจักร
3.ขบถภายนอกพระราชอาณาจักร
4.ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
5.ทำอันตรายแก่ธงหรือเครื่องหมายของต่างประเทศ
6. ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
7.ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
8 ความผิดต่อศาสนา
9.การก่อการจลาจล
10.กระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน
11.ปลอมแปลงเงินตรา
12.ข่มขืนกระทำชำเรา
13.ประทุษร้ายแก่ชีวิต
14. ประทุษร้ายแก่ร่างกาย
15.ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ
16.ลักทรัพย์
17.วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด
18.กรรโชก ความผิดเหล่านี้ถือเป็นความผิดซึ่งหน้าซึ่งราษฎรมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย
.
ถึงอย่างไรก็ดี แม้จะสามารถ”ช่วยเหลือ”เจ้าหน้าที่ในการจับกุมได้ แต่ก็ต้องไปลืมความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง รวมถึงไม่ทำเกินกว่าเหตุด้วย
.
อ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา