การรับเด็กเป็นลูกบุญธรรม คือ การรับเอาลูกของพ่อแม่เด็กหรือผู้ปกครองอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้ให้กำเนิดมาเป็นลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อำนาจในการรับเด็กเป็นลูกบุญธรรมจะมีผลต่ออำนาจปกครองและสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของพ่อแม่โดยกำเนิดให้ขาดไป และถ่ายโอนความรับผิดชอบและสิทธิเหล่านั้นให้กับพ่อแม่บุญธรรม
คุณสมบัติผู้ขอรับเลี้ยง
- ผู้รับต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
- ไม่เข้าข้อห้ามเป็นพ่อแม่บุญธรรม เช่น การมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ,โดนศาลสั่งล้มละลาย,เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ฯลฯ
- ต้องมีอายุมากกว่าเด็กไม่น้อยกว่า 15 ปี
การจะรับลูกบุญธรรมจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย ก็ต่อเมื่อจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การขอรับ ดังนี้
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปี พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องให้ความยินยอม หรือหากอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ให้สถานสงเคราะห์ให้ความยินยอม
- เด็กอายุ20ปีขึ้นไป ตัวของเด็กต้องยินยอมด้วยตัวเอง
- ผู้ขอเป็นพ่อแม่บุญธรรมมีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสยินยอม
สิทธิตามกฎหมาย เมื่อทำข้อตกลง ทั้ง 3 ฝ่าย คือ ลูกบุญธรรม พ่อแม่แท้ๆ พ่อแม่บุญธรรม เสร็จสมบูรณ์ มีดังนี้
- ลูกบุญธรรม สามารถใช้ชื่อนามสกุลองพ่อแม่บุญธรรมได้,มีสิทธิในการรับมรดกและมีฐานะเดียวกับลูกแท้ๆ
- พ่อแม่แท้ๆ สามารถรับมรดกจากลูกบุญธรรมได้และหมดอำนาจการปกครองในตัวลูก
- พ่อแม่บุญธรรม มีสิทธิในการปกครองดูแลลูกบุญธรรม อุปการะให้การศึกษา แต่จะไม่สามารถรับมรดกของลูกบุญธรรมได้
ถ้าเป็นลูกบุญธรรมของใครแล้วจะไม่สามารถเป็นลูกบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ยกเว้นเป็นลูกบุญธรรมของคู่สมรสผู้รับลูกบุญธรรม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับลูกบุญธรรม
สามารถติดต่อได้ที่ : ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 0 2306 8834
ที่มา:
1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598-23,25-26,27,32
2. http://www.isaanlawyers.com/th/การรับเด็กเป็นบุตรบุญธ-2