กฎหมายน่ารู้ : บ้านไม่ใช่เวทีมวย! เราจึงต้องช่วยหยุดความรุนแรง :
รู้หรือไม่? “ความรุนแรงในครอบครัว” เกิดขึ้นบ่อยครั้งแค่ไหน…ซึ่งมีสถิติว่าในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ปี พ.ศ. 2561 มีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นกับเด็กและสตรี สูงถึง 83.6% เฉลี่ยมากถึง 5 คนต่อวัน
เมื่อเจอความรุนแรงในครอบครัวจะทำอย่างไร?
(1) วิธีป้องกัน
(2) การขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ/มูลนิธิที่เกี่ยวข้องและหลายเหตุการณ์ที่เพื่อนบ้านรู้แต่ไม่กล้าที่จะไปแจ้งความเพราะคิดว่าเป็นเรื่องของผัวเมียอย่าไปยุ่ง ทำให้คนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กหรือผู้ถูกกระทำ ต้องทนเห็นและอยู่กับความรุนแรงเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมาและผู้ถูกกระทำหลายคนไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งพาใครได้บ้าง “เพื่อนบ้าน” หรือ “คนเห็นเหตุการณ์” ความรุนแรงในครอบครัว ต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้ามาช่วยเหลือ
เป็นธรรมดาของชีวิตคู่มีทะเลาะกันบ้าง แต่ถ้าถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน จะมีกฎหมายกำหนดโทษไว้หลายระดับ ตามความหนักเบาของบาดแผลที่เกิดขึ้น
แต่คงไม่ใช่ทางออกหากจะแก้ปัญหาให้ลดลงได้ ต้องปรับจิตสำนึก สร้างความรักความอบอุ่นกับคนในครอบครัว เมื่อมีปัญหาจะต้องหาทางแก้ด้วยเหตุและผล เพราะหากใช้กำลังเมื่อไหร่ ความเจ็บไม่ได้เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ส่งผลกับจิตใจที่เป็นรอยร้าว ที่ยากจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
เจ็บแล้วจำเขาว่าคน เจ็บแล้วทนเขาว่าเป็น..
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเจ้าหน้าที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Infographic Presentation 4.0
ที่มา : (1) พระราชบัญญติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
(2) รายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายไตรมาส ในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. ปี 2561 (หน้า19)