ค้นหา

การออกแบบทัณฑสถานในยุค New Normal: Redesigning of Correctional Facility Architecture for New Normal Era

แนวคิด ตัวอย่างที่ดี ในการออกแบบสถานที่ควบคุมต่าง ๆ จากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศมาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งในการประชุมออกแบบและก่อสร้างอาคารสถานที่และสถานควบคุมแห่งเอเชีย หรือ ACCFA ได้มีแนวคิดในการดูแลแก้ไข บำบัดฟื้นฟู ซึ่งต้องดำเนินการผ่านการฝึกอาชีพ การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมถึงสอดคล้องกับแนวคิดของ SDGs ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติในเรื่องของการออกแบบเรือนจำ และได้มีการนำไปเสนอในเวที 14th United Nations Congress on Crime Prevention and Criminal Justice ด้วย  ซึ่งการออกแบบสถานที่ควบคุม ต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม และสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล โดยเฉพาะ ปัจจัยด้านสาธารณสุขและการบริหารจัดการเรือนจำ นอกจากนี้ อาจจะต้องครอบคลุมถึง ผู้ต้องขังที่มีความผิดปกติทางจิต และผู้บริหารจัดการสถานที่ควบคุม ควรมีแผนการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ ที่ระบุถึงความต้องการ และแนวทางการใข้พื้นที่ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด และไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดจากเรือนจำสู่ชุมชน 

ซึ่งการออกแบบเรือนจำ สถานที่ควบคุม ควรคำนึงถึง 3 ส่วน ได้แก่ 1) การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน การจัดสรรพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม 2) การออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอก โดยจัดสรรพื้นที่ใช้สอย การออกแบบสภาพภูมิทัศน์รอบนอก โดยใช้แนวคิด Crime Prevention Through Environmental Design (CPTED) และ 3) การออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร การดูแลน้ำดื่ม น้ำสะอาด และเพื่อเป็นการอยู่ร่วมกันกับชุมชน การบำบัดน้ำเสีย

สำหรับความท้าทายด้านการออกแบบและก่อสร้างเรือนจำของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ

1) ความท้าทายจากสถานการณ์ COVID -19 ที่ต้องคำนึงถึงการออกแบบห้องนอนให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้แต่เป็นการลดจำนวนผู้ต้องขังและลดความแออัดของแต่ละห้องนอน รวมถึงมีห้องในการกักกันโรค 

2) ความท้าทายด้านสุขอนามัย ทำให้ผู้ต้องขังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงมีการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ มีระบบการจัดการขยะและของเสีย เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค 

3) ความท้าทายการคุมขังผู้ต้องขังและการหลบหนี โดยต้องมีการสร้างอาคารให้ปลอดภัย ความสูงของกำแพงรอบเรือนจำ ระยะทางระหว่างตัวอาคารและกำแพงเรือนจำ

รับชมวิดีโอการสัมนาฉบับเต็มได้ที่นี่ :