โดย นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
“แชร์ลูกโซ่” นับเป็นปัญหาใหญ่ที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน และแม้จะมีความพยายามปราบปรามจับกุมดําาเนินคดีแต่ขบวนการต้มตุ๋น ด้วยแชร์ลูกโซ่ ก็ยังไม่หมดไป ทุกวันนี้ยังคงมีข่าวหลอกหลวงสร้างความเสียหายต่อประชาชนนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังย้ำแย่ ขบวนการมิจฉาชีพก็ยิ่งสรรหารูปแบบแชรลูกโซใหม่ๆ ออกมาชวนเชื่อ หลอกลวงประชาชนมากขึ้น ดังน้ันเราจําเป็นต้องรู้เท่าทัน เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากขบวนการมิจฉาชีพดังกล่าว
ความหมายของแชร์ลูกโซ่ คือ การที่กลุ่มผู้กระทำความผิด ประกาศโฆษณาชวนเชื่อ ชักชวนให้ผู้สนใจนำ เงินมาลงทุน หรือ สมัครสมาชิดกับบุคคลหรือนิติบุคคล เพื่อนําเงินไปลงทุนในกิจการใด ๆ อย่างหนึ่ง โดยอ้างว่าหากเข้าร่วมแล้วจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงเกินจริง และยังหลอกให้ชักชวนบุคคลอื่น ๆ โดยให้ค่าหัวคิวจากการลงทุนของผู้ชักชวน ซึ่งแผนธุรกิจที่กล่าวอ้างไม่เป็นความจริง ไม่สามารถหากำไรได้ตามที่โฆษณา
ผู้หลอกลวงไม่ได้นำเงินไปลงทุนตามที่แจ้ง หรืออาจจะลงทุนบางส่วน และจะใช้วิธีการจ่ายผลตอบแทนด้วยการนำเงินค่าสมัครสมาชิก หรือเงินลงทุนของสมาชิกรายใหม่ไปหมุนเวียนจ่ายให้กับสมาชิกรายเก่า หรือให้ผลตอบแทนเพิ่มเติมแก่ผู้ที่หาสมาชิกได้ เพื่อสร้างวงจรสมาชิกให้ใหญ่ขึ้น สุดท้าย…ไม่สามารถหาสมาชิกหรือผู้ลงทุนรายใหม่ได้แล้ว ผู้หลอกลวงก็จะหยุดจ่ายผลตอบแทน และหลบหนี้ไปในที่สุด
วิธีสังเกตว่ากําาลังตกอยู่ในขบวนการของแชร์ลูกโซ่หรือไม่? พิจารณาได้จาก 4 ลักษณะ ดังนี้
บทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเล่นแชร์ลูกโซ่
ในกรณีที่เป็นสมาชิก หรือ นักลงทุนในขบวนการแชร์ลูกโซ่ หากไม่ได้รับเงินลงทุนและผลตอบแทนใด ๆ หรือได้รับเงินลงทุนหรือผลตอบแทนคืนมาน้อยกว่าเงินท่ีสมัครสมาชิกหรือท่ีร่วมลงทุนไป บุคคลน้ัน ถือเป็น “ผู้ได้รับความเสียหาย”
ในส่วนของบุคคลหรือนิติบุคคลที่หลอกลวง โฆษณา ชักชวนประชาชน ให้นำเงินมาลงทุน สมัครสมาชิก หรือร่วมทุนในกิจการใดๆ โดยไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้ตาม ท่ีกล่าวอ้าง ถือว่าเป็นการกระทําาความผิดตาม พระราชกําาหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับ 50,000 -1,000,000 บาท รวมถึงยังมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกัน บุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวง เช่น ผู้บรรยายแผนการตลาด บุคคลต่างๆที่มาช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน วิทยากร แม่ทีม ผู้ชักชวน ก็อาจเข้าข่ายกระทำความผิดเกี่ยวกับการเล่นแชร์ลูกโซ่ได้เช่นกัน แต่จะพิจารณาตามพฤติการณ์ข้อเท็จจริง และองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีไป โดยอาจมีความผิดตาม ความผิดตาม พระราชกําาหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มีบทลงโทษจำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 500 – 1,000,000 บาท และอาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่
1. กรมสอบสวนคดีพิเศษ
สายด่วน 1202 โทร. 0 2831 9888 หรือ www.dsi.go.th
2. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
โทร.02-237-7535
www.ecd.police.go.th
3. ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สายด่วน 1359)
ขอบคุณบทความจาก : JUSTICE MAGAZINE (วารสารยุติธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำปี 2564)