ค้นหา

“หลักฐานจากกล้องวงจรปิด” ไม่ใช่พยานบุคคล

“หลักฐานจากกล้องวงจรปิด” ลองมาฟังสิว่า .. ศาลรับฟังสิ่งที่กล้องเห็นมากน้อยแค่ไหน.. เหมือนที่เราเข้าใจมั้ย.. กล้องวงจรปิด ไม่ใช่พยานบุคคล.. แต่ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.. ก่อนอื่นต้อง ทำความเข้าใจเรื่องประเภทของพยานก่อน พยานแบ่งง่ายๆเป็น 2 ประเภท #พยานตรง (ประจักษ์พยาน) และ #พยานอ้อม (พยานแวดล้อม)

1. พยานตรง (direct evidence)..คือ พยานที่รู้ หรือเห็นการกระทำความผิด.. ที่ฟันธงได้ว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ พยานตรงนี้ ศาลให้ความสำคัญมากที่สุดในบรรดาพยานหลักฐานทั้งหลาย.. เช่น นายเคข่มขืนนางบี นางบีเห็นหน้านายเคอย่างชัดเจน.. นางบีคือ ประจักษ์พยาน ศาลให้ความสำคัญมาก ถ้าศาลเชื่อนางบี ศาลจะพิพากษาว่านายเค มีความผิด นายก.ใช้มีดชิงสร้อยคอของนายข. ขณะที่นายข.นอนหลับ.. นายค.ผ่านมาเห็นพอดี นายค.คือพยานตรง ศาลให้ความสำคัญมากที่สุด #ถ้ากล้องวงจรปิดมีภาพที่เห็นขณะที่จำเลยกระทำความผิด..เช่น เห็นขณะคนร้ายชิงทรัพย์ #ภาพจากกล้องนั้นคือพยานตรง..

2. พยานอ้อม (indirect evidence) สมัยก่อนเรียกว่า พยานพฤติเหตุกรณี .. พยานอ้อมนี้ คือ พยานที่ไม่รู้ไม่เห็นการกระทำผิดโดยตรง.. แต่เชื่อมโยงไปได้ว่า จำเลยน่าจะกระทำความผิด พยานอ้อมนี้ ศาลให้ความสำคัญน้อยมากๆ บางทีไม่สนใจเลย.. เช่น นายเคข่มขืนนางบีในป่าข้างทาง หลังจากนั้น นายเอ ขับรถผ่านมา เห็นนางบีวิ่งออกมาจากป่าข้างทาง และเห็นนายเค เดินตามออกมา แบบนี้ นายเอ เป็นแค่พยานแวดล้อม นายก. ใช้มีดจี้ชิงสร้อยนายข. นายง. เห็นตอนนายก. ไปซื้อมีดก่อนไปชิงสร้อย ส่วนนายจ. เห็นนายก. เอาสร้อยไปขาย.. แบบนี้ ทั้งนายง. และนายจ. เป็นพยานอ้อม มีน้ำหนักน้อย #ถ้ากล้องวงจรปิดไม่เห็นขณะจำเลยทำผิดแต่เห็นผ่านไปมาใกล้เคียงเวลาเกิดเหตุ.. #ภาพจากกล้องนั้นคือพยานแวดล้อม

3. พยานตรง ถ้าน่าเชื่อถือ.. ศาลรับฟังได้เลยว่า จำเลยมีความผิด เช่น พยานเบิกความได้ไม่มีพิรุธ พยานเบิกความสอดคล้องกับพยานอื่น พยานเบิกความเป็นธรรมชาติ เป็นต้น

4. พยานตรง ถ้าไม่น่าเชื่อถือ.. ศาลอาจไม่รับฟังเลย.. ถ้าไม่มีพยานอื่นมาสืบ ศาลอาจยกฟ้องได้ เช่น พยานเบิกความขัดกับพยานตรงคนอื่น. พยานเบิกความมีพิรุธ. พยานเบิกความไม่เป็นธรรมชาติ เป็นต้น

5. พยานอ้อม อย่างเดียว แม้จะน่าเชื่อขนาดไหน ไม่มีพิรุธอะไร ก็มีน้ำหนักน้อย.. ศาลฟังพยานแวดล้อมมาลงโทษไม่ได้

6. เว้นแต่ พยานอ้อมนั้นมีมาก มีความสอดคล้องกัน และไม่มีพิรุธเลย.. อาจมีความน่าเชื่อถึงขนาดรับฟังลงโทษได้ เช่น คดีคุณหมอวิสุทธิ์ เป็นต้น แล้วภาพจากกล้องวงจรปิด.. อาจเป็นพยานตรง หรือพยานอ้อมก็ได้.. แต่กล้องไม่ใช่พยานบุคคล.. จะดูอย่างไรว่า ภาพจากกล้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่มีพิรุธ.. ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ไม่เห็นหน้า.. ที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ไม่เห็นหน้า เห็นหน้าไม่ชัด หรือมีการดัดแปลงแก้ไขไฟล์ภาพ.. หรือ มีการได้มา การเก็บรักษา ใช้วิธีการวิเคราะห์ภาพ.. โดยใช้โปรแกรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ หรือไม่ทำตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล.. เหล่านี้ ถือว่า ไม่น่าเชื่อถือ

7. ภาพจากกล้อง ที่ไม่น่าเชื่อถือนี้ ศาลจะให้ความสำคัญน้อย.. ไม่ว่าภาพนั้นจะเป็นพยานตรง หรือพยานแวดล้อม.. อาจยืนยันลงโทษจำเลยไม่ได้ แต่แม้ภาพจากกล้องจะไม่น่าเชื่อ ..แต่คดีนั้นยังมีพยานอื่นอีกมารวมกัน เช่น พยานบุคคลตามข้อ 3 หรือข้อ 6 .. คดีนั้นก็อาจมีน้ำหนักมากพอให้ศาลรับฟังลงโทษได้

8. พยานบุคคลที่เป็นญาติ คนใกล้ชิดของจำเลย. มาเบิกความช่วยจำเลย แม้จะน่าเชื่อถือขนาดไหน ก็มีน้ำหนักน้อย ศาลมักไม่เชื่อ..

9. พยานบุคคลที่เป็นญาติ คนใกล้ชิดของจำเลย. แต่มาเบิกความให้เป็นผลร้ายจำเลย.. ถ้าน่าเชื่อถือ.. จะมีน้ำหนักมาก ศาลมักจะเชื่อ..

10. พยานบุคคล ที่เป็นกลาง.. ไม่ใกล้ชิด หรือรู้จัก หรือสนิทกับจำเลย..ไม่ว่า จะเบิกความช่วยเหลือจำเลย หรือ เบิกความเป็นผลร้ายกับจำเลย ถ้าน่าเชื่อถือ.. จะมีน้ำหนักมาก

11. ภาพจากกล้องวงจรปิด ก็เป็นพยานที่มีความเป็นกลาง.. ถ้าน่าเชื่อถือ จะมีน้ำหนักมาก

12. ภาพจากกล้องวงจรปิด ส่วนใหญ่เป็นระบบดิจิตัล.. มีการแก้ไขไฟล์ภาพได้ง่าย.. ที่สำคัญคือ.. ถ้าภาพเบลอไม่ชัด.. ใช้โปรแกรมทำให้ภาพคมชัดได้.. ถ้าภาพถูกลบ.. ถูกบันทึกซ้ำ..ถูก format.. ใช้โปรแกรมตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ดึงภาพกลับมาดูอีกได้.. #สรุปว่า..กล้องวงจรปิด.. จะมีความสำคัญมากหรือน้อย.. จึงขึ้นอยู่กับว่า ภาพจากกล้องนั้น นำเสนออะไร.. เป็นพยานตรง หรือพยานแวดล้อม. และ ขั้นตอนวิธีการเก็บ ดูแลรักษา ส่งต่อ วิเคราะห์ ถูกต้องหรือไม่..และการได้มา ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่… ถ้าทุกอย่างดี ทุกอย่างชอบ ทุกอย่างถูกต้องหมด.. ภาพจากกล้องวงจรปิด ก็จะมีน้ำหนักมากก.. แต่ถ้ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้น.. ภาพจากกล้องวงจรปิด .แม้จะชัดเจนเพียงใด.. เป็นประจักษ์พยานขนาดไหน.. ก็ไร้ค่า..และไม่น่าเชื่อถือ..ในสายตาของศาลครับ..

ที่มา : ขอขอบคุณ ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอนุญาตให้สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ความรู้ต่อไปครับ