ค้นหา

Q&A : รายงานแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เปิดเผยได้หรือไม่?

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15(5), 35, 37

ประวัติการรักษาสุขภาพเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หากหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร หน่วยงานรัฐฯ “อาจมีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลฯ” แต่่ผู้ขอที่ถูกปฏิเสธให้ข้อมูลฯ สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้…

“ประวัติการรักษาเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล”

ประวัติการรักษาเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โรงพยาบาลจะเปิดเผยข้อมูลได้ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยเจ้าของข้อมูลก่อน หากผู้ติดต่อขอเปิดเผยข้อมูลไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย โรงพยาบาลสามารถปฏิเสธเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ ตาม มาตรา 7, พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ว่าข้อมูลสุขภาพของบุคคลเป็นความลับ ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่ผู้ป่วยจะขอประวัติของตัวเอง

กรณีเจ้าของข้อมูลเสียชีวิต

กรณีเจ้าของข้อมูลเสียชีวิตและได้ทำประกันชีวิตไว้ เงื่อนไขค่าสินไหมทดแทนของบริษัทต้องนำประวัติการรักษาพยาบาลของคนไข้ที่เสียชีวิตไปแสดงเพื่อรับผลประโยชน์ ทายาทสามารถยื่นอุทธรณ์กับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาใช้สิทธิ์ตามกฎหมายได้

การขอประวัติคนไข้มักไม่ได้ข้อมูลตามที่ขอ อาจมีหลายปัจจัยและหลายสาเหตุ หากมีปัญหาในการติดต่อขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

รายละเอียดเพิ่มเติม : เพจสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือ เว็บไซต์ www.oic.go.th หรือโทร 02-283-4000 ต่อ 17

อ้างอิง : พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15(5), 35, 37

เสียงความรู้กฎหมาย ตอนที่ 237 ผลการตรวจร่างกายเป็นข้อมูลส่วนบุคคล