ค้นหา

ลูกหนี้ขอรับค่าเลี้ยงชีพ ในคดีล้มละลาย

วารสาร กรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 123 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563

เมื่อศาลมีคำพิพากษาลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหน้าที่จะลงสารระบบข้อมูลคำสั่งศาลและลูกหนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะส่งผ่านไปยังหน่วยงานทางทะเบียนที่ได้ทำความตกลงร่วมกันกับกรมบังคับคดี ในการรับส่งข้อมูลคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่ลูกหนี้จะทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

ลูกหนี้มีหน้าที่มาให้การสอบสวนกิจการและทรัพย์สินของตนเอง ลูกหนี้สามารถให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ณ กรมบังคับคดี และสำนักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องต่างๆ เช่น เงินเดือน เงินบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทัพย์จะแจ้งอายัดไปยังลูกหนี้ หากลูกหนี้ประสงค์จะขอรับค่าเลี้ยงชีพจากเงินรายได้ที่ถูกอายัด ต้องยื่นขอค่าเลี้ยงชีพต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์

1.ลูกหนี้ต้องขอให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์กำหนดค่าเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัวตามฐานะ และลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือภายในเวลาที่กำหนด

2. ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สิน ลูกหนี้ต้องทำหนังสือรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ทราบ และต้องแสดงบัญชีรายรับ-รายจ่าย เสนอต่อเจ้าหน้าที่ทุก 6 เดือน

การกำหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย

1.กำหนดจำนวนค่าเลี้ยงชีพจากเงินเดือนค่า่จ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเป็นรายเดือนของลูกหนี้

ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทในการกำหนดค่าเลี้ยง และไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 70 ของรายได้ประจำ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

2. การกำหนดจำนวนค่าเลี้ยงชีพสำหรับเงินที่มีลักษณะการให้ค่าตอบแทนเป็นครั้งคราว หากลูกหนี้มีรายได้อื่น เช่น เงินเบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา กำหนดค่าเลี้ยงชีพจากรายได้อื่น เมื่อรวมค่าเลี้ยงชีพในข้อ 1 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 (หากค่าเลี้ยงชีพเกิน 20,000 ไม่ต้องพิจารณาเงินประเภทนี้)

3. กรณีลูกหนี้ได้รับเงินเป็นคราวๆ ได้แก่ เงินโบนัส เงินปันผล หรือ เงินได้อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยไ่ม่ต้องพิจารณาในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ แม้ว่าลูกหนี้ได้ค่าเลี้ยชีพไม่ถึง 20,000 เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจกำหนดค่าเลี้ยงชีพจากเงินประเภทนี้ได้เลย

4. กรณีลูกหนี้ได้รับเงินรายได้ภายหลังพิทักษ์ทรัพย์ไปก่อนนี้แล้ว หากไม่สามารถหักคืนได้ในคราวเดียว ให้กำหนดระยะเวลาหักเงินคืนตามความเหมาะสม พิจารณาจากค่าเลี้ยงชีพมราเจ้สหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์กำหนด และจำนวนเงินที่ลูกหนี้ต้องคืนเข้ากองทรัพย์สินด้วย

5. กรณีลูกหนี้ขอรับค่าเลี้ยงชีพจากเงินรายได้ที่เข้ากองทรัพย์สินมาก่อนวันยื่นคำร้องขอค่าเลี้ยงชีพ

6. กรณีลูกหนี้ได้เงินค่าตอบแทนการออกจากงาน กำหนดเป็นเงินที่ลูกหนี้ต้องใช้ดำรงชีพในแต่ละเดือน และให้หักเงินลูกหนี้เป็นรายเดือน นับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับเงินนั้นจนถึงวันที่ลูกหนี้ได้รับการปลดล้มละลาย

7. บริษัทของลูกหนี้ยินยอมให้หักเงินส่วนที่เหลือจากการกำหนดค่าเลี้ยงชีพเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้

8. ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ และศาลมีพิพากษาให้ล้มละลาย ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติเป็นเหตุให้ออกจากราชการและไม่ได้รับเงินรายได้ โดยมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีคำพิพากษาให้ล้มละลาย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วารสาร กรมบังคับคดี ปีที่ 24 ฉบับที่ 122 เดือนมกราคม – มีนาคม 2563 หน้า 3 – 12