ค้นหา

คิดจะพัก คิดถึงวันหยุด

กฎหมายน่ารู้ 70 : คิดจะพัก คิดถึงวันหยุดในช่วงสถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดีแบบนี้ โรคระบาดก็กลัว เรื่องปากท้องก็กลัว แถมยังกระทบกับหน้าที่การงานอีกด้วย ทุกอย่างส่งผลกระทบเป็นวงจร และคาดเดาลำบากว่าจะกลับมาสู่สถานการณ์ปกติได้เมื่อไหร่ ช่วงเวลานี้เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ หมั่นดูแลร่างกายและคนใกล้ชิดอย่าเข้าพื้นที่เสี่ยง หลายคนในช่วงนี้ต้องทำงานที่บ้าน หรือทำงานเหลื่อมเวลาเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด

สำหรับวันนี้หลายๆคนที่อยู่ในช่วงทำงานที่บ้านและสงสัยเกี่ยวกับเรื่องวันหยุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (มาตรา 28-30,32-36,62-64,146) มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ไปดูกันดีกว่า

ลา-หยุดงานอย่างไร…ไม่โดนหักเงินตามกฎหมาย

วันหยุด

  • หยุดประจำสัปดาห์  ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนด ให้สะสมวันหยุดและเลื่อนวันหยุดได้  แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
  • หยุดตามประเพณี  เช่น วันหยุดราชการ  ศาสนา วันแรงงานแห่งชาติ ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน
  • ถ้าวันหยุดประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์  ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
  • งานที่ไม่อาจหยุดตามประเพณีได้  ให้หยุดวันอื่นชดเชย หรือจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แทน
  • หยุดพักผ่อนประจำปี  ปีละไม่น้อยกว่า 6 วัน ให้สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ยังไม่ได้หยุดรวมกันกับวันหยุดในปีต่อๆ ไปได้ หรือในปีต่อมา นายจ้างจะกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานได้

วันลา

  • ลาป่วย  ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  ลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์จะต้องชี้แจงเหตุผล  ได้รับค่าจ้างในวันลาป่วย ไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • ลาคลอด ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน นับรวมวันหยุด ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วันต่อครรภ์
  • ลาทำหมัน  ลาตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และออกใบรับรอง ได้รับค่าจ้างในวันลาทำหมันตามจริง
  • ลารับราชการทหาร ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบฝึกวิชาทหาร ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 60 วันต่อปี
  • ลาเพื่อฝึกอบรม  ต้องแจ้งพร้อมแสดงหลักฐาน (ถ้ามี) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
  • ไม่อนุญาตให้ลาได้ ถ้าเคยได้รับอนุญาตให้ลามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือ 3 ครั้ง หรือแสดงได้ว่าการลาทำให้เกิดความเสีย

ลากิจ

ลาได้หลังผ่านการทดลองงาน 6 เดือน

ที่มา : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (มาตรา 28-30,32-36,62-64,146)