ค้นหา

พระภิกษุมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่

ไขข้อข้องใจ ทรัพย์สินพระภิกษุ เมื่อลาสิกขาหรือมรณะภาพ ทรัพย์สินเป็นของใคร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ระบุว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม และมาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้น หาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุ

  1. ทรัพย์สินที่มีก่อนอุปสมบทจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุ ซึ่งหากมรณภาพก็จะตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทต่อไป
  2. ทรัพย์สินที่มีหรือได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ เช่น มีญาติโยมศรัทธาถวายเงินทองให้ ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุอยู่ เพียงแต่หากพระภิกษุมรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ (วัดที่จำพรรษา) เว้นแต่พระภิกษุจะได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนมรณภาพยกให้ใคร หรือได้จำหน่ายไปก่อนมรณภาพ ก็จะไม่ตกเป็นของวัด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับมรดกของพระภิกษุ

  1. พระภิกษุเป็นผู้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้ เพียงแต่จะต้องสึกออกมาเสียก่อน จากนั้นก็มาเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อรู้หรือควรได้รู้ถึงความตาย
  2. พระภิกษุเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมได้

กรณีพระภิกษุ มรณะภาพ และไม่ได้ทำพินัยกรรม 

ทรัพย์สินส่วนตัวของพระที่มรณะภาพ จึงตกเป็นของวัด แต่กรณีสึกแล้ว (ไม่ได้มรณะภาพ) ทรัพย์ส่วนตัว ก็ยังคงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของอดีตพระภิกษุส่วนทรัพย์สินที่มี หรือได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ เช่น มีญาติโยมศรัทธาถวายเงินทองให้ ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุอยู่ เพียงแต่หากพระภิกษุมรณะภาพ ก็ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ (วัดที่จำพรรษา) เว้นแต่พระภิกษุจะได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนมรณภาพยกให้ใคร หรือได้จำหน่ายไปก่อนมรณภาพ ก็จะไม่ตกเป็นของวัด

ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1622, 1623, 1624