เก็บทรัพย์สินของผู้อื่นได้ ต้องทำอย่างไร และจะไม่มีความผิดเจตนายักยอกทรัพย์สินหาย หากตามหาเจ้าของได้ มีสิทธิได้รับเงินรางวัลจากเจ้าของได้ตามกฎหมาย แต่หากไม่สามารถหาเจ้าของได้ ภายใน 1 ปี ให้ทรัพย์สินนั้น ตกเป็นของผู้เก็บได้ ดังนั้น เมื่อเก็บทรัพย์สินของผู้อื่นที่ทำหล่นหายได้ จะต้องทำสิ่งต่อไปนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1323 ได้แก่
- ส่งมอบคืนเจ้าของ
- แจ้งเจ้าของโดยเร็ว
- ส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายใน 3 วัน
ลักทรัพย์ คือ เจ้าของทรัพย์รู้ตัวเลยว่าหาย และกำลังติดตามหาอยู่ คนเก็บได้ก็อยู่ในเหตุการณ์ เจอของและรู้ว่าเป็นของใครแต่เงียบ ไม่บอก/ไม่คืนเพราะมีเจตนาทุจริตจะแย่งการครอบครองเอาเป็นของตัวเอง สรุปสั้นๆ ลักทรัพย์ คือ คนเก็บได้รู้ว่าของใครแน่ๆ แต่เงียบ
ยักยอกทรัพย์สินหาย คือ เจ้าของไม่รู้ตัวว่าของหายที่ไหน และเป็นกรณีการครอบครองทรัพย์หลุดจากเจ้าของ คนที่เก็บทรัพย์ได้จึงได้การครอบครองไปด้วย โดยรู้ว่า ทรัพย์เป็นของคนอื่น และเจ้าของกำลังติดตามเอาคืน แต่ไม่รู้ว่าเป็นของใครแน่ชัด เลยมีเจตนาเบียดบังเอาเป็นของตัวเอง สรุปสั้นๆ ยักยอกทรัพย์ คือ คนเก็บได้รู้แค่ว่าเป็นของคืนอื่น แต่ไม่รู้ว่าใคร

คืน ให้เจ้าของหรือส่งมอบให้ตำรวจ
- มีสิทธิได้เงิน 10% จากทรัพย์สิน ราคา 30,000 บาท (ถ้าราคาสูงกว่านี้ให้เพิ่มอีก 5%) หากนำส่งตำรวจจะได้เพิ่มอีก 2.5%เป็น ค่าธรรมเนียมแต่ไม่เกิน 1,000 บาท
- ได้ชื่อเสียงของตก ที่เป็นโบราณวัตถุผู้เก็บ มีสิทธิได้รับรางวัล 10% จากราคาของวัตถุโบราณชิ้นนั้น เมื่อไม่มีคนมาเอา ของชิ้นนั้นๆต้องตกเป็นของแผ่นดิน
- ได้รางวัลของมีค่าที่ซ่อนหรือฝังไว้ มีผู้เก็บได้และไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของแผ่นดิน ถ้านำส่งตำรวจจะได้รับรางวัล 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์สิน
- ได้สิทธิ์เป็นเจ้าของเจ้าของทรัพย์สินไม่มารับคืนใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เก็บได้ กรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้ที่เก็บได้
ไม่คืน ให้เจ้าของหรือส่งมอบให้ตำรวจ
- ผิดฐานลักทรัพย์ – เก็บของหายได้ แล้วเก็บไว้เป็นของตัวเอง (ทุจริต) โดยรู้หรือควรรู้ว่าเจ้าของยังติดตามอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มีความผิดฐานลักทรัพย์ (ยอมความไม่ได้) โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท
- ผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย – เก็บของหายได้ แล้วเก็บไว้เป็นของตัวเองมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย (ยอมความได้) ตามประบวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคสอง โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ้างอิง : ประมวลกฎหมายอาญา , ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์