- ภัยพิบัติ หมายถึง อันตรายที่น่านำไปสู่หายนะ ความสูญสีย อาจเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุ ลมมรสุม การปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ
- อุบัติภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดอย่างกระทันหันจากอุบัติเหตุ ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นกับหรือคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ เช่น อุบัติภัยที่เกิดจากการจราจร อุบัติภัยที่เกิดจากการทำงาน
ลักทรัพย์ ในพื้นที่มีภัยพิบัติ
- เพลิงไหม้
- การระเบิด
- อุทกภัย (น้ำท่วม)
- ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ
- ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีเหตุทุขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร
- ลักทรัพย์ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีภัยพิบัติอื่น เช่น ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว น้ำป่าไหลหลาก
- ลักทรัพย์ โดยอาศัยโอกาส ที่มีเหตุตามข้อ 1 – 6
- ลักทรัพย์ โดยอาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตราย
ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามมาตรา 335
- ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน (ช่วงระยะเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ถึงพระอาทิตย์ขึ้น)
- ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือผ่านสิ่งกีดกั้นเข้าไป เช่น การงัดแงะ ตัด พัง ปีนข้าม และมุดลอดรั้ว ประตู เหล็กดัด เข้าไป
- เข้าทางช่องทางที่ไม่ใช่ทางคนเข้า เช่น หน้าต่าง ช่องลม ช่องฝ่า ลูกกรง หรือเข้าทางช่องทางที่ผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ เช่น ลูกจ้างแอบเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ให้ขโมยเข้ามาลักทรัพย์ในบ้านนายจ้าง
- แปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นคนอื่น ปลอมหน้า หรือทำอย่างอื่น เพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ เช่น ใส่วิกผม หนวดปลอม นำสี/แป้ง/ฝุ่นมาทาหน้า
- หลอกลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน เช่น กำนัน ตำรวจ ผู้พิพากษา อัยการ (แม้เจ้าของทรัพย์จะไม่เชื่อว่าเป็นเจ้าพนักงาน ก็มีความผิด)
- มีอาวุธ เช่น มีด ปืน ก้อนหิน ใช้เชือกรัด หรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- ลักทรัพย์ในเคหสถาน (เช่น บ้าน โรงเรือน แพ ที่คนอยู่อาศัย กุฏิ) สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่ให้บริการสาธารณะที่เข้าไป โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
- ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสำหรับขนถ่านสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ
- ลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น ป้ายจราจร ฝาปิดท่อระบายน้ำ โทรศัพท์สาธารณะ
- ลักทรัพย์ของนายจ้าง หรืออยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
- ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม ผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมือใช้ทำ/ได้มาจากการกสิกรรม เช่น การทำไร่/ไถนา/เพาะปลูก
บทลงโทษ: จำคุกตั้งแต่ 1 – 5 ปี และปรับ 20,000 – 100,000 บาท

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 334, 335)