ค้นหา

ศาสนสมบัติของวัดทรัพย์สินที่ต้องดูแลตามหลักพระธรรมวินัย

ศาสนสมบัติ คือ ทรัพย์สินของวัดที่อยู่ในการดูแลของเจ้าอาวาส ซึ่งต้องบริหารจัดการตามกฎกระทรวงที่กำหนด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพระพุทธศาสนา มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง การจัดการศาสนสมบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพระธรรมวินัย นอกจากจะเป็นการรักษาทรัพย์สินของวัดแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

1. ที่ดินของวัด

  • ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน, นส.3, สค.1ฯ
  • ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องเก็บรักษาเอกสารสิทธิ์ไว้ที่หน่วยงานที่กำหนด • วัดในกรุงเทพฯ: เก็บที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ • วัดในจังหวัด: เก็บที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด

2. ทรัพย์สินที่หมดสภาพ หากทรัพย์สินใดหมดสภาพการเป็นศาสนสมบัติ วัดต้องดำเนินการจำหน่าย/จ่าย/แจก/สลับเปลี่ยน/โอน โดยระบุเหตุแห่งการจำหน่ายให้ชัดเจน เช่น

  • กุฏิถูกรื้อถอน
  • ที่ดินถูกเวนคืนตามกฎหมาย

3. การบริหารจัดการเงิน เงินของวัดแบ่งเป็น 2 ประเภท:

เงินทั่วไป (เช่น ค่าเช่าที่ดินวัดเพื่อาศัย/ค้าขาย/เกษตรกรรม เป็นต้น)

  • ต้องออกใบเสร็จรับเงิน
  • ลงบัญชีและลงเลขที่ใบเสร็จ

เงินการกุศล (เช่น เงินบริจาค/ทำบุญ/กฐิน/ผ้าป่า)

  • ต้องออกใบอนุโมทนาบัตร
  • ลงบัญชีและลงเลขที่ใบอนุโมทนา

การเก็บรักษาเงิน

  • หากมีเงินเกิน 100,000 บาท ต้องฝากธนาคารในนามวัด
  • เงินการกุศลให้เก็บรักษาตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
  • ต้องทำบัญชีรับ-จ่ายประจำเดือนและงบปี โดยไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ที่ได้รับแต่งตั้ง

4. ทรัพย์สินอื่นๆ

  • เสนาสนะและอาคาร
  • สิ่งปลูกสร้างต่างๆ
  • ของมีค่า เช่น พระพุทธรูป ธรรมาสน์ บุษบก

ที่มา : กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564