มรดก คือ
ทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตาย และมรดกรวมถึงสิทธิและหน้าที่ ความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ตายด้วย มรดกที่เป็นทรัพย์สิน คือ สิ่งที่มีค่า มีราคา เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น มรดกที่เป็นสิทธิ คือ เป็นสิ่งที่จะได้มาหรือที่มีอยู่ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิตามสัญญากุ้ยืมเงิน สิทธิในฐานะที่เป็น เจ้าหนี้ในการได้รับเงินคืน เป็นต้น ในส่วนของ มรดกที่เป็นความรับผิด คือ เป็นเรื่องที่จะต้องชดใช้ เช่น ความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่มีการก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้อื่นหรือความรับผิดที่เกิดจากการผิดข้อสัญญาต่างๆ
สรุปมรดก คือ ทรัพย์สินของผู้ตาย หากใครยังไม่ตายทรัพย์สิบนั้นก็ไม่ใช่มรดก ไดยตามปกติ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินสามารถที่จะจัดการทรัพย์สินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ด้วยการทำพินัยกรรม
พินัยกรรม คือ
การแสดงเจตนาของผู้ตายในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการ ของตนก่อนตายเพื่อให้การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้ถ่วงหน้านั้นมีผลต่อเมื่อตนถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวต้องได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
คุณสมบัติของผู้ทำพินัยกรรมมีอยู่ 2 ข้อ คือ
- มีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป
- ศาลไม่ใด้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
แบบของพินัยกรรม
การทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดว่าจะทำ ได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่ง และผู้ทำพินัยกรรมจะเลือกทำพินัยกรรมแบบใดก็ได้ เช่น
- พินัยกรรมแบบธรรมดา
- พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
- พินัยกรรมแบบเอกสารฝ้ายเมือง
- พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
- พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
ผู้รับมรดกเป็นใคร
เมื่อมีคนตายและผู้ตายมีทรัพย์สิน ซึ่งทรัพย์สินนี้ก็จะกลายเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้ตายโดยทันที ซึ่งมรดกของผู้ตายจะตกทอดไปยังทายาทตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก 2 ประเภท ได้แก่
1. ทายาท โดยธรรมของผู้ตาย
ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติของผู้ตายโดยตรง ซึ่งก็คือ พ่อแม่ของผู้ตาย ลูกของผู้ตาย สามีหรือภิริยาของผู้ตาย พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน เป็นต้นซึ่งสิทธิในการได้รับมรดกนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้ให้เป็นไป ตามลำดับชั้น ดังนี้
- ผู้สืบสันดาน
- บิดา มารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส คือ คู่สมรสที่ชอบตัวยกฎหมายของผู้ตาย ที่ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดก ไม่ว่าผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติตามลำดับ 1-6 ดังที่กล่าว
ลำดับชั้นที่ใกล้ชิดกับผู้ตายที่สุดเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อน และในกรณีที่ทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิรับมรดกได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายไม่มีการทำพินัยกรรมเอาไว้ หรือทำไว้บางส่วน หรือทำพินัยกรรมไว้แล้วไม่มีผล
2. ผู้รับพินัยกรรม
ผู้ที่มีสิทธิรับทรัพย์สินของผู้ตายเป็นการเฉพาะเจาะจง เพราะผู้ตายได้ทำหนังสือกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินของผู้ตายเอาไว้โดยตรงก่อนตาย ผู้รับพินัยกรรมจะเป็นใครก็ได้ ไม่ต้องมีความเกี่ยวดองเป็นญาติกันก็ได้ หากผู้ตายได้ทำหนังสือไว้ว่าจะยกทรัพย์สินมรดกให้ใคร ก็มีผลให้ทรัพย์สินนั้นตกแก่ผู้ที่มีชื่ออยู่ในพินัยกรรมคนนั้น