ค้นหา

การสมรสซ้อน คืออะไร ?

สมรสซ้อน คือ การที่บุคคลหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับอีกบุคคลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตนเองมีพันธะ (ตามกฎหมาย) ด้วยการจดทะเบียนสมรสกับอีกบุคคลหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเรียกว่า มี “คู่สมรส” อยู่แล้ว และการสมรสนั้นยังไม่สิ้นสุดลง

การสมรสซ้อน มีผลอย่างไร? การจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าเป็น “โมฆะ” และการจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าไม่ได้มีการจดทะเบียน (โมฆะ) ไม่มีผลตามกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452  ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขห้ามชายหรือหญิงทำการสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ตามหลักการของกฎหมายครอบครัวที่กำหนดให้มีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว หากทำการสมรสซ้อนหรือสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว การสมรสนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียสามารถกล่าวอ้างว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้ แต่ถ้ายังไม่มีการกล่าวอ้างหรือมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ต้องถือว่าชายหญิงในการสมรสครั้งหลังยังคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย แต่เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือมีคำพิพากษาแล้วการสมรสซ้อนนั้นย่อมเป็นอันเสียเปล่าตั้งแต่แรกเริ่ม

ทั้งนี้ การสมรสซ้อนนี้แม้ชายหรือหญิงคู่สมรสจะไม่รู้ว่าอีกฝ่ายมีการสมรสเดิมอยู่แล้ว ก็ยังคงเป็นโมฆะอยู่ ไม่มีทางที่จะทำให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตามคู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้นก่อนที่ตนจะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ

เสียงกฎหมาย ตอน จดทะเบียนสมรสซ้อน

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ หมวด 5 มาตรา 1452 และ มาตรา 1495