ค้นหา

กฎหมายน่ารู้ 94 : รับบริจาค เรี่ยไรเงิน ทำไงถูกกฎหมาย?

ในยามวิกฤตไร้ที่พึ่งพา คนเราจึงหวังพึ่งได้เพียงน้ำใจ
การบริจาค หรือ เรี่ยไร นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของไทยเลยก็ว่าได้ เพราะมีมานานควบคู่มากับสังคม
แต่ในขณะที่การรับบริจาคเป็นเรื่องปกติ เรามาดูกันดีกว่า ว่า จริงๆแล้ว กฎหมายว่าไว้อย่างไรบ้าง กับการรับบริจาคและเรี่ยไร

+ ข้อห้ามในการรับบริจาค/เรี่ยไรเงิน
+ รับบริจาค/เรี่ยไรเงินที่ต้องขออนุญาต
+ วิธีปฎิบัติเมื่อได้รับอนุญาตให้เรี่ยไร

ห้ามจัดให้มีการเรี่ยไร/เรี่ยไรเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้/ชดใช้ค่าปรับให้จำเลย ยกเว้นเรี่ยไรในวงศ์ญาติของจำเลย

ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามจัดให้มีการเรี่ยไร/เรี่ยไรโดยกำหนดอัตราเก็บเงิน/ทรัพย์สิน คำนวณตามปริมาณสินค้า/ผลประโยชน์/วัตถุ

ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามจัดให้มีการเรี่ยไร/เรี่ยไรที่อาจเป็นเหตุให้เสื่อมทรามแก่ความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดีของประชาชน

ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามจัดให้มีการเรี่ยไร/เรี่ยไร4. เรี่ยไรที่อาจเป็นเหตุกระทบกระเทือนรุนแรงถึงสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ หรือ เรี่ยไรเพื่อจัดหายุทธภัณฑ์ให้ต่างประเทศ

ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามบุคคลจัดให้มีการเรี่ยไร/เรี่ยไร
1. อายุต่ำกว่า 16 ปี
2. จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ/ไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ
3. เป็นโรคติดต่อน่ารังเกียจ
4. เคยต้องโทษฐานลักทรัพย์/วิ่งราวทรัพย์/ชิงทรัพย์/ปล้นทรัพย์/โจรสลัด/กรรโชก/ฉ้อโกง/ยักยอกทรัพย์/รับของโจร/ทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอาญา และพ้นโทษยังไม่ครบ 5 ปี
5. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีความประพฤติ/หลักฐานว่าไม่น่าไว้วางใจ

การเรี่ยไรที่ต้องขออนุญาตก่อน

เรี่ยไรโดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ราชการ/เทศบาล/สาธารณะประโยชน์ (ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร่)

ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ

ขออนุญาตได้ที่ : กทม – กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
จังหวัดอื่น – ที่ว่าการอำเภอ

การเรี่ยไรที่ต้องขออนุญาตก่อน

เรี่ยไรในถนนหลวง/ในที่สาธารณะ/โฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์-วิทยุกระจายเสียง-เครื่องเสียง (ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่)

ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 200 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขออนุญาตได้ที่ : กทม – กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
จังหวัดอื่น – ที่ว่าการอำเภอ

การเรี่ยไรที่ไม่ต้องขออนุญาต
การเรี่ยไรโดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ราชการ/เทศบาล/สาธารณะประโยชน์ โดยกระทรวง ทบวง กรม
และการเรี่ยไรในถนนหลวง/ในที่สาธารณะ/โฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์-วิทยุกระจายเสียง-เครื่องเสียง โดยกระทรวง ทบวง กรม

การเรี่ยไรที่ไม่ต้องขออนุญาต เรี่ยไรเพื่อกุศลสงเคราะห์ในโอกาสที่บุคคลชุมนุมกันเพื่อประกอบศาสนกิจ

การเรี่ยไรที่ไม่ต้องขออนุญาตเรี่ยไรในงานออกร้านขายของ/ในที่ประชุมที่จัดขึ้น โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ออกร้าน/จัดประชุม จัดให้มีการเรี่ยไรขึ้น

เงื่อนไขและวิธีปฎิบัติิ เมื่อได้รับอนุญาตให้เรี่ยราย

ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
1. จำนวนเงิน/ทรัพย์สินอย่างสูงที่ให้เรี่ยไรได้
2. เขต/สถานที่/เวลาที่อนุญาตให้เรี่ยไร
3. วิธีการเก็บรักษา/ทำบัญชีเงิน-ทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้
4. วิธีการเรี่ยไร
5. วันสิ้นสุดของใบอนุญาตเรี่ยไร
ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 100 บาท

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ในขณะทำการเรี่ยไร สำหรับให้เจ้าหน้าตรวจดูได้
ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 100 บาท

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เรี่ยไร ต้องออกใบรับเงิน/ทรัพย์สินให้ผู้บริจาค และต้นขั้วใบรับไว้เป็นหลักฐาน
ประกาศยอดรับเงิน/จ่ายเงิน-ทรัพย์สินให้ประชาชนทราบ ประกาศยอดบัญชีเมื่อจ่ายเงิน/ทรัพย์สินหมดแล้ว

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เรี่ยไร
ห้ามจ่ายเงิน/ทรัพย์สินที่เรี่ยไรในกิจการอื่นนอกวัตถุประสงค์การเรี่ยไรตามที่แสดงไว้ (ยกเว้นใช้จ่ายในการเรี่ยไรตามสมควร)

ถ้าเงิน/ทรัพย์สินที่เรี่ยไรมาได้ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ไม่ได้/เหลือจ่าย ต้องรายงานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร/พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และสั่งให้ส่งเงิน/ทรัพย์สินไปประกอบการกุศาล/สาธารณะประโยชน์
ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 500 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เรี่ยไร
ห้ามเรี่ยไรโดยใช้ถ้อยคำ/วิธีการที่เป็นการบังคับผู้ถูกเรี่ยไรให้หวาดหวั่น/เกรงกลัว
ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

การรับบริจาค/เรี่ยไรออนไลน์ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ แต่ถ้านำเงินรับบริจาคไปใช้ผิดวัตถุประสงค์มีความผิด
– ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 341) : ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (มาตรา 14 (1) : นำเข้าข้อมูลเท็จ รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ