การหมั้น เป็นการตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย (คู่หมั้น) ว่าจะมีการแต่งงานเกิดขึ้นในอนาคต โดยการหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อ ฝ่ายผู้หมั้นส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นให้แก่ผู้รับหมั้น ต่อมาหากภายหลังการหมั้น คู่หมั้นอาจมีเหตุบางอย่าง ที่เป็นปรปักษ์จนไม่สามารถแต่งงาน ใช้ชีวิตคู่กันในอนาคตได้ จึงตกลงบอกเลิกสัญญาหมั้นกัน (เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายผู้รับหมั้นเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายผู้หมั้น)
บุคคลทั้งสองฝ่าย หมั้นได้ ต้องมี อายุ 18 ปี บริบูรณ์แล้ว
- การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อ “ผู้หมั้น” ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นให้ “ผู้รับหมั้น“
เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกัน - “ของหมั้น” ตกเป็นสิทธิของผู้รับหมั้น
- กรณีฝ่ายผู้รับหมั้น “ผิดสัญญาหมั้น” ให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายผู้หมั้น (ตามกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้)
เมื่อมีการหมั้นแล้ว ฝ่ายใด “ผิดสัญญาหมั้น” ต้องรับผิดชดใช้ค่าทดแทน… (ศาลชี้ขาด)
- ค่าทดแทนความเสียหายต่อร่างกายหรือชื่อเสียงของผู้หมั้นหรือผู้รับหมั้น
- ค่าทดแทนความเสียหายจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลที่กระทำในฐานะเช่นเดียวกับบิดา มารดาที่ใช้จ่ายหรือตกเป็นลูกหนี้ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและสมควร
- ค่าทดแทนความเสียหายจากการที่คู่หมั้นจัดการทรัพย์สิน / อาชีพ / ทางทำมาหาได้ของตน โดยสมควรเพราะคาดหมายว่าจะได้สมรส

กรณี คู่หมั้นตายก่อนสมรส อีกฝ่ายจะเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้ส่วนของหมั้นหรือสินสอด ไม่ต้องคืน
คู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนได้
- ค่าทดแทนจากผู้ร่วมประเวณีหรือผู้ที่ทำให้คู่หมั้นของตนสนองความใคร่ โดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้น (ต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น)
- ค่าทดแทนจากผู้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนฯ คู่หมั้นของตน โดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้น (ไม่ต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น)
การเรียกร้องค่าทดแทน ต้องทำภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ ถึงการกระทำของผู้อื่น หรือรู้ตัวผู้จะใช้ค่าทดแทน แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้อื่นได้กระทำการดังกล่าว