ค้นหา

10 เหตุผลในการฟ้องหย่า

จดทะเบียนหย่าเป็นขั้นตอนที่แสดงว่าสิ้นสุดสถานะการสมรส ซึ่งคุ้มครองสามี ภรรยา ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน การเลี้ยงดูบุตร และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพการสมรส การหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ คู่สมรสจดทะเบียนหย่า  และฟ้องหย่าต่อศาล เมื่อคู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรือเหตุอื่นๆ ตามกฎหมายได้ที่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ตามภูมิลำเนาที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือที่เกิดเหตุแห่งการหย่าได้

การหย่าโดยความยินยอม

  • ให้คู่สมรสทำความตกลง เป็นหนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ถ้าไม่ได้ตกลงหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
  • ให้คู่สมรสตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่า ทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร/จำนวนเงินเท่าไหร่

การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1. การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียนเดียวกันกับที่จดทะเบียนสมรส

  • คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
  • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน

2. การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน (ในกรณีจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนที่จดทะเบียนสมรส)

  • คู่หย่าตกลงเรื่องพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)) โดยทำเป็นหนังสือหนังสียหน้าาย่า
  • คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยินคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง
  • สำนักทะเบียนใด
  • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตานที่ใต้ตกลงกัน

กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด

การฟ้องหย่า ต้องมีเหตุ ดังนี้ 

  1. อุปการะเลี้ยงดู ยกย่องผู้อื่นแบบคู่สมรส เป็นชู้หรือมีชู้ร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นประจำ หรือกระทำหรือยอมรับการกระทำกับผู้อื่นเพื่อสนองความใคร่ของตนหรือผู้อื่นเป็นประจำ*
    : เมื่อศาลพิพากษาให้หย่า =  
    – คู่สมรสมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่าย และจากผู้ที่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ยกย่อง หรือเป็นเหตุแห่งการหย่า
    – คู่สมรสมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากผู้ล่วงเกินคู่สมรสทำนองชู้ หรือผู้ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับคู่สมรสในทำนองชู้ : ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ = ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนไม่ได้
  2. ประพฤติชั่ว จนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง /ถูกดูถูกเกลียดชัง /ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร *
    : ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ = ฟ้องหย่าไม่ได้
  3. โดนทำร้าย/ทรมานร่างกายหรือจิตใจ/เหยียดหยามอีกฝ่ายหรือบุพการีอย่างร้ายแรง
  4. จงใจทิ้งร้างไปเกิน 1 ปี เช่น ถูกจำคุกเกิน 1 ปี โดยอีกฝ่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในความผิด, สมัครใจแยกกันอยู่เพราะอยู่ร่วมกันแบบปกติสุขไม่ได้ตลอด 3 ปี, แยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี
  5. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
  6. ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควร หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นคู่สมรสอย่างร้ายแรง
  7. เป็นคนวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และยากจะหายและถึงขนาดทนอยู่ร่วมกันแบบคู่สมรสต่อไปไม่ได้
  8. ผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ* : ถ้าการผิดทัณฑ์บนมาจากความประพฤติของคู่สมรส แต่เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน = ศาลอาจสั่งไม่ให้หย่าได้
  9. เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงที่เป็นภัยและไม่มีทางที่จะหายได้
  10. มีสภาพร่างกายที่ทำให้ร่วมประเวณีไม่ได้ หรือสนองความใคร่ไม่ได้ตลอดกาล : ถ้าสภาพร่างกายดังกล่าว เกิดจากการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่าย = ฟ้องหย่าไม่ได้

อ้างอิง
1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567