การสร้างวัดในพุทธศาสนา ที่ประชาชนในท้องถิ่นต้องการให้มีวัดในชุมชน เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทำบุญ บำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม และเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการพัฒนาจิตใจ พัฒนาชุมชน หรือเป็นสถานที่พึ่งทางใจ อีกทั้ง ยังเป็นสถานที่สำหรับศึกษาพระธรรมวินัยของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย
วัดในพระพุทธศาสนา หมายถึง
ศาสนสถานอันเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนามีพระสงฆ์จำพรรษา มีขนาดพื้นที่ทั้งความกว้าง ความยาวที่ชัดเจน สำหรับใช้ทำศาสนากิจวัตรของพุทธบริษัท มีลักษณะเป็นส่วนป่าอันน่ารื่มรมณ์ มีทั้งตัวอาคารและเสนาสนะเป็นสัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทวัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังได้แบ่งประเภทของวัดออกเป็น 2 ประเภท คือ วัดที่ได้วิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ อ้างอิง : วิวัฒนาการวัดในพระพุทธศาสนา

หลักเกณฑ์การยื่นคำขอ
ที่ดิน ที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ต้องยื่นคำขอสร้างวัด ต่อ ผ.อ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ในจังหวัดที่ที่ดินตั้งอยู่ พร้อมเอกสาร ดังนี้
- ต้องมีที่ดิน เนื้อที่ไม่น้อยกว่า 6 ไร่
– หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
– หนังสือสัญญาที่ผู้มีสิทธิทำไว้กับสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ยกที่ดินให้วัด หรือ
– หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินวัดเพื่อสร้างวัดจากส่วนราชการ (กรณีที่ดินเป็นของส่วนราชการ)
แผนที่ แสดงข้อมูลโดยสังเขป ดังนี้
– ที่ตั้งสถานที่ที่ขออนุญาตสร้างวัด
– วัด
– สถานที่ใกล้เคียง
– เส้นทางคมนาคม
แผนผัง ภายในที่ดินที่จะสร้างวัด ตามแบบที่กฎกระทรวงกำหนด
– เขตที่ดิน
– อาคาร
– สิ่งปลูกสร้าง - ต้องเป็นสถานที่ที่สมควรเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์และประกอบศาสนกิจ
- ต้องเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 1,000 คน
- ต้องมีเหตุผลสนับสนุนว่า เมื่อตั้งวัดแล้วจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริมจากประชาชน
- ต้องตั้งอยู่ห่างจากวัดอื่นไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร
- ต้องใช้เงินและสัมภาระที่สร้างวัดรวมกันไม่น้อยกว่า 200,000 บาท
ข้อ 1, 3, 6 ขอยกเว้นได้ เมื่อมีเหตุผล/ความจำเป็นและประโยชน์ที่ประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับจากการสร้างวัด
ขั้นตอนการอนุญาต
- ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ตรวจสอบคำขอและเอกสาร พร้อมขอความเห็นจากเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ นายอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
- ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาตเป็นหนังสือตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ
- ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด รายงานผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีและมหาเถรสมาคมทราบ
ผู้ที่ได้รับอนุญาต ไม่ก่อสร้างวัด/ก่อสร้างไม่ตรงตามแผนผังที่ได้รับอนุญาต ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจ สั่งแก้ไขหรือระงับ ทั้งหมดหรือบางส่วนตามสมควร
อ้างอิง :
– กฎกระทรวงการสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559
– สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โทร. 024417999