คู่มือฉบับประชาชน ทำอย่างไร? เมื่อมีคดีอาญา
ใคร? คือ “ผู้เสียหายในคดีอาญา” ในทางกฎหมาย “ผู้เสียหาย” หมายรวมถึง
.
1. คนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญา รวมไปถึง “ผู้เสียหาย” ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถใช้สิทธิ “ร้องทุกข์” ได้ตามกฎหมาย ไม่ต้องขออนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
.
2. สามีที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิฟ้องคดีอาญา แทนภรรยา ได้เมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากภรรยา และมีอำนาจดำเนินคดีอาญาแทนในกรณีภรรยาเป็นผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้
.
3. ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส ถูกต้องตามกฎหมาย มีอำนาจดำเนินคดีอาญาแทน ในกรณีสามีเป็นผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้
.
4. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ มีอำนาจดำเนินคดีอาญาในความผิดที่ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หมายถึงบุคคล ดังนี้
- บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา หรือ จดทะเบียนสมรสกับมารดา ในภายหลัง หรือได้จด ทะเบียนรับรองบุตร หรือ ศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์นั้น เป็นบุตรแล้ว เพียงแค่มีชื่อเป็นบิดาในสูติบัตร หรือให้ใช้นามสกุล ยังไม่ถือว่าเป็นบิดาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีอำนาจดำเนินคดีอาญาแทนบุตรผู้เยาว์
- มารดา ของผู้เยาว์ โดยทั่วไปแล้ว มารดามีสถานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรเสมอยกเว้นกรณีมารดาถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครองบุตร มารดาไม่สามารดำเนินการแทนได้
ผู้ปกครอง ของผู้เยาว์ คือ คนที่ไม่ใช่บิดา มารดาที่ศาลสั่งให้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ได้ อาจเป็นญาติ หรือ บุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง จะมีขึ้น
ในกรณีที่ผู้เยาว์ กำพร้าบิดามารดา หรือ บิดามารดาถูกศาลถอนอำนาจปกครองด้วยเหตุต่าง ๆ ผู้รับบุตรบุญธรรม (พ่อหรือแม่บุญธรรม) ที่ได้จดทะเบียนรับผู้เยาว์นั้นเป็นบุตรบุญธรรมถูกต้องตามกฎหมาย
.
5. ผู้อนุบาล มีอำนจดำเนินคดีอาญาในความผิดที่ได้กระทำาต่อผู้ไร้ความสามารถ
.
6. ผู้บุพการี คือ ญาติทาง สายเลือด โดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ของผู้เสียหาย มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้
.
7. ผู้สืบสันดาน คือ ญาติทางสายเลือดโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อของผู้เสียหาย มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้
.
8. ผู้จัดการหรือผู้แทน อื่น ๆ นิติบุคคล กรณีความผิดอาญาต่อนิติบุคคล
นิติบุคคล เป็นคนที่กฎหมายสมมติว่ามีความสมารถ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา แต่ไม่มีชีวิต ร่างกาย สติปัญญาเหมือนกับคนธรรมดา จึงต้องมีผู้แทนนิติบุคคล เพื่อแสดงออกถึงสิทธิ หน้าที่ และความประสงค์ของนิติบุคคล
นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทจำกัด
ตัวอย่าง คดีอาญาที่ทำต่อนิติบุคคล เช่น คดีละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ของบริษัทจำกัด ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อฉายและจัดจำหน่ายในประเทศไทยกรรมการผู้จัดการบริษัท ต้องตั้งผู้แทนนิติบุคคลไปร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีอาญาต่อผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากบริษัทจำกัด ไม่มีชีวิต ไปแจ้งควมเองไม่ได้
.
บุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจจัดการ แทนผู้เสียหาย ได้แก่
1) ร้องทุกข์
2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
3) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
4) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
5) ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัวส่วนญาติของผู้เสียหายที่ไม่ได้มีอำนาจปกครองดูแลใด ๆ หรือไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิดำเนินการแทนผู้เสียหายตามกฎหมาย แม้จะไม่มีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหายแต่ยังสามารถใช้สิทธิกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนได้ในฐานะประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีการสอบสวนคดีอาญาเกิดขึ้น
………………………………………………………………
ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม (กลุ่มกฎหมาย) : คู่มือฉบับประชาชน ทำอย่างไรเมื่อมีคดีอาญา